วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

จาก ม.ปลาย สู่ มหาวิทยาลัย - เรียนอย่างไรให้ได้ A

     

               สำหรับ เด็กที่กำลังเตรียมตัวสอบกันอยู่ โดยเฉพาะการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างก็ต้องเครียดกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อสอบเข้าได้แล้วใครจะคิดว่า มีเรื่องที่ต้องเครียดมากกว่าเดิมหลายเท่านัก นั่นก็คือการปรับตัวให้เข้ากับระบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ต้องตื่นเช้าไปโรงเรียน มีการทำกิจกรรมหน้าเสาธง ฯลฯ สิ่งเหล่านั้นจะหายไปเมื่อเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัย ดังนั้นเด็กๆ ทุกคนคงต้องมีการปรับตัวกันขนานใหญ่ ทั้งเรื่องการเรียน ความรับผิดต่อตนเอง รวมถึงการที่จะทำอย่างไรให้เรียนได้ผลการเรียนดี วันนี้เรามีเคล็ดลับมาบอก...

   1. สำหรับพวกวิชาเคมี คณิตศาสตร์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ อะไรทำนองนี้ จะเจอมากเลยสำหรับน้องๆ ที่เรียนในคณะสายวิทย์ แต่สำหรับคณะสายศิลป์ก็เจอบ้าง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งดูเหมือนว่า จะไม่ยาก เพราะเราเคยเรียนมาหมดแล้วใน ม.ปลาย แต่มันยากตรงที่เนื้อหาแต่ละเรื่องเรียนเร็วมากๆ เร็วกว่าใน ม.ปลาย ประมาณ 3-4 เท่า อย่างเช่น วิชาชีววิทยานั้นต้องเรียนเนื้อหาที่เคยเรียนตั้งแต่ ม.4- ม.6 ให้จบภายในเทอมเดียว (จาก 3 ปี เหลือ 1 เทอม)

     แนวทางการปรับตัว

   2.   ตั้งใจ เรียนให้มากขึ้น หมั่นทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ ถ้าเป็นไปได้ไปเอาสมุดโน้ต หนังสือเรียนเก่าๆ สมัย ม.ปลาย มาทบทวนดู เพราะว่าเนื้อหาในมหาวิทยาลัยที่อาจารย์สอนนั้นมันจะรวบรัดมากๆ ไม่ละเอียดเท่าของ ม.ปลาย (เฉพาะน้องๆ ปี 1) ดังนั้นถ้าเราอ่านของ ม.ปลาย จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น

   3. ข้อแตกต่างต่อมาเป็นเรื่องของความ อิสระ ที่เราจะได้รับอย่างมากในรั้วมหาวิทยาลัย ดังนั้นถ้าเราควบคุมตนเองไม่ได้ ความอิสระที่เราได้รับนั้นจะกลับกลายเป็นดาบมาทำร้ายตัวเราเอง

      แนวทางการปรับตัว

      เรา ต้องควบคุมตนเองให้อยู่อย่าออกนอกลู่นอกทาง แล้วที่สำคัญต้องแบ่งเวลาให้เป็นด้วย ต้องรู้ว่าเวลาไหนควรเที่ยว เวลาไหนควรตั้งใจเรียน ไม่ใช่ว่า เก้าโมง คือเวลาเรียนแต่แอบโดดไปเที่ยว จริงอยู่ว่า ในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะไม่มีการเช็คชื่อหรือเช็คเวลาเข้าเรียน แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ ก็จะทำให้เราเรียนไม่ทันเพื่อนๆ

   4. รู้หรือไม่ ? การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ส่วนใหญ่คะแนนที่ได้ เกรดที่ออกล้วนมาจากการสอบทั้งนั้น ไม่มีคะแนนพิศวาส หรือคะแนนเก็บ คะแนนทำงานเหมือนใน ม.ปลาย

      แนวทางการปรับตัว

      วิธี การปรับตัวนั้น เราต้องตั้งใจเรียนและเอาใจใส่ต่อวิชานั้นๆ อย่างมาก ที่สำคัญไม่ควรโดดเด็ดขาด เพราะแม้ว่าคะแนนช่วย คะแนนจากการเข้าห้องเรียน จะไม่สำคัญแล้ว แต่การที่เราโดดเรียน จะทำให้เราไม่เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน ซึ่งจะทำให้เรามาเหนื่อยช่วงใกล้สอบนั่นเอง

      การมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ สำหรับการเรียน
      ในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
   5. การช่วยเหลือตัวเอง คือเรื่องใหญ่มากในรั้วมหาวิทยาลัย การช่วยเหลือตัวเองในที่นี้ หมายถึง ถ้าเรามีปัญหาการเรียน หรือต้องการติดต่ออาจารย์นั้น เราต้องติดต่อเอง ไม่มีอาจารย์มาคอยจ้ำจี้จ้ำไชเราเหมือนตอน อยู่ ม.ปลายแล้ว

      แนวทางการปรับตัว

      ใน รั้วมหาวิทยาลัยนั้น เราจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษาเราเวลาเรามีปัญหาอะไร ก็ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาของเราได้ และนอกจากนี้วิชาที่เราเรียนบางวิชาก็จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำวิชา และผู้ช่วยสอนคอยให้คำปรึกษาเราอยู่ด้วย ดังนั้น ไม่ควรอายที่จะเข้าหาอาจารย์ เพราะถ้าเราไม่กล้าที่จะเข้าหาอาจารย์ จะทำให้เราเรียนอย่างลำบากมากๆ

   6. เพื่อน คือ สิ่งสำคัญ ในรั้วมหาหาวิทยาลัย ใน ม.ปลาย เราอาจยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของเพื่อนในด้านการเรียนมากนัก เพราะเรามักจะนึกถึงเพื่อนในเรื่องของความสนุกสนาน เฮฮากันเสียส่วนใหญ่ แต่ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อนนี่แหล่ะจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเอาตัวรอดได้เลย ยกตัวอย่าง ถ้าเราไม่เข้าเรียน แล้วเรามีเพื่อนที่ไว้ใจได้เรียนวิชาเดียวกับเรา เราก็ยังสามารถให้เพื่อนช่วยจด lecture หรือมาติวให้เราได้ จริงไหม ? เริ่มเห็นความสำคัญของเพื่อนหรือยัง

      แนวทางการปรับตัว


      ใน มหาวิทยาลัยนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ แค่มีสองสามคนแต่ไว้ใจได้ สามารถช่วยเหลือกันได้ก็เพียงพอแล้ว น้องๆ บางคนคงจะสงสัยว่า แล้วเพื่อนในมหาลัยนั้นหายากไหม ? คำตอบคือ ไม่ยากพียงแค่เราทำกิจกรรมบ่อยๆ เราก็จะได้เพื่อนเอง

นี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งขอการแนะนำการปรับตัวจาก ม.ปลาย สู่การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อให้เด็กๆ ทั้งหลายได้นำไปปรับใช้กับตนเอง เพื่อจะทำให้ชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัยมีความสุขยิ่งขึ้น และไม่เครียดกับสังคมใหม่มากเกินไป...


              ที่มาข้อมูล : http://www.dek-dee.com/
                            http://www.learning.eduzones.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น