วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

โจทย์อุทาหรณ์ เรื่องสัญญาต่างตอบแทน

ข้อ 1. นางคอรี่อยู่จังหวัดสงขลา ได้ตกลงทำสัญญาซื้อเครื่องเพชรชุดที่ชื่อ  "เกียรติสยาม" ชุดเดียวที่มีอยู่ในร้านเพชรงามที่กรุงเทพราคา2 ล้านบาทโดยกำหนดให้ร้านเพชรงามผู้ขายจัดส่งชุดเครื่องเพชรนี้ไปทางเครื่องบินร้านเพชรงามได้ส่งเครื่องเพชรนี้ไปเมื่อวันที่25 มีนาคม2550 โดยเที่ยวบินที่DG 1109 ของบริษัทการบินสยามปรากฏว่าขณะที่เครื่องบินอยู่เหนืออ่าวไทยเกิดเครื่องขัดข้องทำให้เครื่องบินตกลงสู่ก้นทะเลลึกดังนี้ถามว่านางคอรี่จะปฏิเสธไม่ชำระเงิน2 ล้านบาทและเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบเครื่องเพชรชุดที่ชื่อ“เกียรติสยาม” ชุดใหม่ให้อีกได้หรือไม่กรณีจะเป็นอย่างไรถ้าเครื่องบินได้ไปถึงจังหวัดสงขลาโดยปลอดภัยและนางคอรี่ได้รับมอบเครื่องเพชรนั้นแล้วและคืนวันนั้นเองเครื่องเพชรก็ถูกขโมยไปโดยที่นางคอรี่ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลเป็นอย่างดีแล้วดังนี้ถามว่านางคอรี่จะปฏิเสธไม่ชำระเงิน2 ล้านบาทและเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบเครื่องเพชรชุด“เกียรติสยาม” อีกชุดหนึ่งได้หรือไม่

หลักกฎหมาย
1.กรณีตามปัญหาโจทย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักกฎหมายไว้ดังนี้
  
     1.1 มาตรา 370 วรรคแรก วางหลักไว้ว่า การใดเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่วัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
และทรัพย์นั้นได้สูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอันใดอันหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
     1.2 มาตรา 219 วรรคแรก วางหลักไว้ว่า ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นการพ้นวิสัย อันเกิดหลังจากการก่อหนี้ขึ้น และไม่สามารถโทษลูกหนี้ได้ ท่านว่า
ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น
 
      จากข้อเท็จจริงตามปัญหาโจทย์วินิฉัยได้ว่า การทำสัญญาซื้อขายชุดเครื่องเพชรชื่อ เกียรติสยาม ระหว่าง นางคอรี่ และร้านเพชรงาม เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์ในการก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และได้มีการส่งชุดเครื่องเพชรมาทางเครื่องบิน  แต่ในระหว่างเครื่องบินเกิดขัดข้อง ตกลงสู่ก้นทะเลลึก ทำให้ชุดเครื่องเพชรได้สูญหายไป และทำให้การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัย ซึ่งการสูญหายไปของชุดเครื่องเพชรจะโทษร้านเพชรงามลูกหนี้มิได้ และทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฃำระหนี้ แต่การสูญรือเสียหายนั้นจะตกเป็นพับแก่นางคอรี่เจ้าหนี้ กล่าวคือ นางคอรี่จะปฏิเสธการชำระเงิน 2 ล้านบาท และเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบชุดเครื่องเพชรชุดใหม่มิได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 219 วรรคแรก
      ในกรณีที่เครื่องบินได้นำชุดเครื่องเพชรมาส่งถึงนางคอรี่อย่างปลอดภัย และก็ได้ถูกขโมยไปในคืน ทำให้เครื่องเพชรได้สูญหายไป และทำให้การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัย ซึ่งการสูญหายไปของชุดเครื่องเพชร
จะโทษร้านเพชรงามลูกหนี้มิได้ และทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ แต่การสูญรือเสียหายนั้นจะตกเป็นพับแก่นางคอรี่เจ้าหนี้ กล่าวคือ นางคอรี่จะปฏิเสธการชำระเงิน 2 ล้านบาท และเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบชุดเครื่องเพชรชุดใหม่มิได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 219 วรรคแรก
     สรุปว่า เหตุผลที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ในกรณีทั้ง 2 กรณี นางคอรี่จะปฏิเสธการไม่ชำระเงิน 2 ล้านบาท และเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบเครื่องเพชรชุดใหม่มิได้

ข้อ 2. นาย ก ทำสัญญาซื้อขายเปียโนใช้แล้วจากนาย ข ซึ่งเป็นเปียโนหลังเดียวที่นาย ข มีอยู่ในราคา 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไขว่าสัญญาซื้อขายเปียโนดังกล่าวจะมีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเมื่อเด็กหญิงเอบุตรสาวของนาย ก สำเร็จวิชาการดนตรีจากโรงเรียนเปียโนกลการต่อมาอีก 3 เดือนปรากฏว่าเด็กหญิงเอ บุตรสาวของนาย ก สอบสำเร็จวิชาการดนตรี รุ่งขึ้นนาย กจึงได้ไปติดต่อขอชำระราคาเปียโนที่ซื้อกับนาย ข ปรากฏว่านาย ข บอกว่าเมื่อก่อนหน้านี้สักสองอาทิตย์บุตรชายของตนได้ทดลองหัดเล่นเปียโนหลังดังกล่าวจึงได้ร่วมเล่นด้วย แต่เกิดปัญหาขึ้นคือระบบเสียงของเปียโนหลังนั้นเสีย ช่างได้มาตรวจสอบแล้วมีความเห็นว่า ถ้าจะต้องซอ่ มเพื่อให้อยู่ในสภาพดีเหมือนเดิมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 บาท นาย ข ไม่มีเงินจึงยังปล่อยให้เสียอยู่อย่างนั้นหากนาย ก มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำแนะนำนาย ก อย่างไรจงอธิบายพร้องยกหลักกฎหมาย

หลักกฎหมาย
2.กรณีตามปัญหาโจทย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักกฎหมายไว้ดังนี้
   2.1 มาตรา 371 วรรคสอง วางหลักไว้ว่า  ถ้าความเสียหายนั้น เกิดขึ้นจากเหตุอันใดอันหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้มิได้ เจ้าหนี้สามารถที่จะเลือกที่ชำระหนี้โดยลดอัตราส่วนการชำระหนี้ลง หรือเลิกสัญญาก็ได้ และเรียกให้ลูกชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ได้
   จากข้อเท็จจริงตามปัญหาโจทย์วินิจฉัยได้ว่า การที่นาย ก. ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายเปียโนหลังเดียวที่นาย ข. มี และสัญญาจะมีผลก็ต่อเมื่อ บุตรสาวของ นาย ก. ได้สำเร็จการศึกษาวิชาการดนตรีก่อนเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุในการก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่ง โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
   ต่อมาบุตรสาวของ นาย ก.ได้สำเร็จการศึกษาวิชาวิชาการดนตรี ทำให้สัญญาซื้อขายที่เงือนไขบังคับก่อนสำเร็จ และสัญญาซื้อขายจึงได้เกิดขึ้น และในวันรุ่งขึ้น นาย ก. ก็ได้ไปติดต่อขอชำระราคาเปียโนหลังเดียวของ นาย ข. แต่ปรากฏว่าเปียโนหลังเดียวของ นาย ข. เกิดระบบเสียเสียหายจากการที่ บุตรชายของ นาย ข. ได้ฝึกเล่น และนาย ข. ก็ร่วมเล่นด้วย
   ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน ซึ่งความเสียดายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความผิดที่เกิดขึ้นจากนาย ข. ลูกหนี้ ซึ่งจะโทษนาย ก. เจ้าหนี้ มิได้ และนาย ก. เจ้าหนี้ ก็สามารถที่จะเลือกที่จะชำระราคาเปียโนโดยลดอัตราส่วรลง หรือเลือกที่จะบอดเลิกสัญญาซื้อขายเปียโน และเรียกค่าสินไหมทดแทนก็ได้ ตาม  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 371 วรรคสอง
   ด้วยเหตุผลที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นสรุปได้ว่า นาย ก. มีสิทธิที่จะเลือกที่จะชำระราคาเปียโนโดยลดอัตราส่วรลง หรือเลือกที่จะบอดเลิกสัญญาซื้อขายเปียโน และเรียกค่าสินไหมทดแทนก็ได้

ข้อ 3. นาย ก.ทำสัญญาเช่าบ้านจากนาย ข. โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนว่าสัญญาเช่าบ้านจะมีผลต่อเมื่อบุตรชายของนาย ก. กลับจากต่างประเทศมาถึงเมืองไทยเสียก่อน ปรากฏว่าในคืนก่อนที่บุตรชายนาย ก. จะกลับถึงเมืองไทยบ้านที่นาย ข. จะให้นาย ก. เช่าเกิดไฟไหม้หมดไปทั้งหลัง ทั้งนี้เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร อยากทราบว่าเมื่อบุตรชายของนาย ก. กลับมาถึงเมืองไทยแล้วนาย ก. จะเรียกร้องสิทธิและประโยชน์จากนาย ข. ได้หรือไม่อย่างไร อธิบาย

หลักกฎหมาย
3.กรณีตามปัญหาโจทย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักกฎหมายไว้ดังนี้
  3.1 มาตรา 372 วรรคแรก วางหลักไว้ว่า นอกจากกรณีตาม มาตรา 370 และมาตรา 371 ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นการพ้นวิสัย เพราเหตุอันใดอันหนึ่ง อันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ ท่านว่าลูกหนี้ไม่มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้ตอบแทน
  
     จากข้อเท็จจริงตามปัญหาโจทย์วินิจฉัยได้ว่า การทำสัญญาเช่าบ้านระหว่าง นาย ก. และนาย ข. และสัญญาจะมีผลก็ต่อเมื่อ บุตรชายของนาย ก. กลับมาจากต่างประเทศ เป็นสัญญาต่างตอบแทน
แต่ไมามีวัตถุประสงค์ในการก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่ง โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
   ต่อมาบุตรชายของนาย ก. ได้กลับมาจากต่างประเทศ และในคืนวันเดียวกัน ได้เกิดไฟฟ้ารัดวงจร และทำให้บ้านเกิดไฟใหม้ทั้งหลัง ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นการพ้นวิสัย ซึ่งจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
มิได้ กล่าวคือ นาย ก. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องและประโยชน์จากนาย ข. ลูกหนี้ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372 วรรคแรก
  
   สรุปได้ว่า นาย ก. ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องและประโยชน์จากนาย ข. ได้