วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

^^แนวข้อสอบความรู้ทั่วไป^^...

33. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว  แห่งที่ 2  ได้แก่  สะพานเชื่อมมุกดาหาร-สวรรค์ณเขต  เปิดสะพานวันที่  20  ธันวาคม 2549

       ถนนหมายเลข 9

34. กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15  จัดที่ประเทศกาต้า  ใช้ชื่อ  DOHA 2006  เกมส์

35. เอเชียนเกมส์ครั้งที่  16  จัดที่เมืองกวางเจา  ประเทศจีน ปี 2010

36. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ  มีนายมีชัย  ฤชุพันธ์  เป็นประธาน

37. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  คือ  นายอารีย์   วงษ์อาริยะ

38. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  คือ  นายบัญญัติ  จันทน์เสนะ

39. ปลัดกระทรวงมหาดไทย  คือ นายพงศ์โพยม  วาสุภูติ

40. กระทรวงมหาดไทย แบ่งกลุ่มภารกิจงานให้รองปลัดกระทรวงรับผิดชอบ ดังนี้

          1.กลุ่มภารกิจบริหาร   2. กลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคง 3.กลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง

          4.กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

          5.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)

41. ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) คือ นายพระนาย สุวรรณรัฐ

42. รัฐบาลกำหนดให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษได้แก่ จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล สงขลา

43. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย  หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  คือ

      นายสมชาย   ชุ่มรัตน์

44. ประเทศไทย  เกิดภัยน้ำท่วมทั้งสิ้น  47  จังหวัด

45. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ใช้ระหว่าง พ.ศ.2550-2554  (ครม.เห็นชอบเมื่อวันอังคารที่ 15 ส.ค.49)

46. วิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีสาระ  ดังนี้

       มุ่งพัฒนาสู่  สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน  คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้  รู้เท่าทันโลก  ครอบครัวอบอุ่น  ชุมชน

       เข้มแข็ง   สังคมสันติสุข  เศรษฐกิจมีคุณภาพและเป็นธรรม  สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนอยู่ภายใต้

       ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล  ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและอยู่ใน

       ประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

47. พันธกิจ  ในการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10  มุ่งสู่  สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน   ภายใต้แนวปฏิบัติของ     

       ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ดังนี้

        1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน

        2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ  เสถียรภาพ และเป็นธรรม

        3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

        4) พัฒนาระบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็น

            ประมุข

48. เป้าหมาย  ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10  มี  5  ด้าน  คือ

         1) ด้านการพัฒนาคุณภาพคน              2) ด้านการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน          3) ด้านเศรษฐกิจ                 

         4) ด้านการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม        5) ด้านธรรมาภิบาล

^^แนวข้อสอบความรู้ทั่วไป^^..

18. การสรรหาสภาร่างรัฐธรรมนูญ  เริ่มโดย

      18.1 การสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติในแต่ละจังหวัด รวม 3  ประเภท  6  กลุ่ม ได้แก่  (จำนวน  2,000  คน)

              18.1.1 ประเภทผู้แทนภาคเศรษฐกิจ-สังคม   รวม  4  กลุ่ม

                            1) ผู้แทนองค์กรด้านการเกษตร            2) ผู้แทนองค์กรด้านการอุตสาหกรรม

                             3) ผู้แทนองค์กรด้านการบริการ           4) ผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิจดทะเบียน

             18.1.2  ประเภทผู้แทนภาครัฐ  ได้แก่  กลุ่มกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน

             18.1.3  ประเภทผู้แทนภาคการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

      18.2 การสรรหาสมาชิกแห่งชาติ  โดยผู้แทน ให้เหลือ  200   คน

      18.3 เสนอ คมช.  พิจารณาแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ  100  คน

19. สภาร่างรัฐธรรมนูญ  ต้องจัดทำและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน

20.สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับจากคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ

21.ร่างรัฐธรรมนูญต้องผ่านประชามติของประชาชน ไม่เร็วกว่า 15 วันและไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันเผยแพร่

22.หากสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือประชาชนเสียงข้างมากไม่เห็นชอบ ให้ คมช.ร่วมกับคณะรัฐมนตรี พิจารณารัฐธรรมนูญฯ

      ฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แล้วนำทูลเกล้าประกาศใช้

23.บรรดากฎหมายใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นผู้พิจารณาตัดสิน

24.คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน

     ผู้พิพากษาในศาลฎีกา จำนวน 5 คน เป็นตุลาการ

25.คมช. ย่อมาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีพลเอกสนธิ  บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ

26.คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย    1) ประพันธ์      2) สุเมธ      3) อภิชาต     4) สมชัย       5) สดศรี

     โดยมีนายอภิชาต   สุขัคคานนท์  เป็นประธาน  กกต.

27. คมช. แต่งตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของ  พลเอกสุรยุทธ์   จุลานนท์

28.รัฐบาลประกาศวาระแห่งชาติ  2  เรื่อง คือ

    1)  การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา

    2)  การตรวจสอบทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ

29. นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายที่เป็นภารกิจสำคัญให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ  4  เรื่อง  ดังนี้

    1)  ประชาธิปไตย        2)  เศรษฐกิจพอเพียง         3)  อยู่ดีมีสุข     4)  สมานฉันท์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

30. ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด  5  เรื่อง

      1)  เศรษฐกิจพอเพียง                2)  ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น       3)  การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส

      4)  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม               5)  การบริการประชาชน

31. รัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ฯ  นายกรัฐมนตรี คนที่  24   มีทั้งหมด  27  คน  รวม นายกฯ  28  คน

32. รัฐบาลชุดนี้ ยึดแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามนโยบาย




^^แนวข้อสอบความรู้ทั่วไป^^

1. ประเทศไทยมีการปฏิรูปการปกครอง เมื่อวันที่  19  กันยายน  2549

2. การปฏิรูปการปกครอง ยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ คือ  พลเอกสนธิ  บุญยรัตกลิน

4. การปฏิรูปการปกครองได้ยุบศาลรัฐธรรมนูญ

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เป็นฉบับที่ 17  มีทั้งหมด  39 มาตรา ให้ไว้ ณ วันที่      
      1 ตุลาคม 2549 เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน

6. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกิน 250 คน  อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี  แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ฯ  

     โดยทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร   วุฒิสภา และรัฐสภา

7. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิ์เข้าชื่อเสนอประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้

    สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียพ้นจากสมาชิกภาพ โดยมติที่ประชุม 2 ใน 3

8. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน เข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายซักถามคณะรัฐมนตรีได้

    แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจไม่ได้

9. ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) คณะองคมนตรี  ประกอบด้วยประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน

       ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี  ประธานองคมนตรี

       เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี    การพ้นจากตำแหน่งเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

10. คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีก จำนวนไม่เกิน 35 คน

11. การแต่งตั้งและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ประธาน คมช.เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

12. สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ  ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ภายใน

      เวลา  2 ปี ก่อนวันได้รับการคัดเลือก และต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติในขณะเดียวกัน

13. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ  แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

14. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ มีสิทธิเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้คนละไม่เกิน 3 รายชื่อ และให้ผู้ได้คะแนนเสียงสุงสุด  

      เรียงลำดับจนครบ 200 คน และเสนอ คมช.คัดเลือกให้เหลือ 100 คน นำทูลเกล้าแต่งตั้ง

15.  ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ได้แก่  นายนรนิติ  เศรษฐบุตร 

          รองประธาน   สสร.  คนที่  1  ได้แก่  นายเสรี    สุวรรณภานนท์

          รองประธาน   สสร.  คนที่  2  ได้แก่  นายเดโช  สวนานนท์

16. ในการร่างรัฐธรรมนูญ  ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญคณะหนึ่ง จำนวน 25 คน จาก

      ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมติสภา  และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภา

      ร่างรัฐธรรมนูญตามมติสภา  และผู้ทรงคุณวุฒิตามลักษณะดังกล่าว ตามคำแนะนำของ คมช. อีก  10 คน  รวม  35  คน  

17. ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ นายประสงค์  สุ่มศิริ

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นนิติบุคคลของรัฐ

ความเป็นนิติบุคคลของรัฐ                    

      กฎหมายมหาชนได้สร้างแนวความคิดเรื่องการแยกตัวบุคคลของรัฐออกจากตัวบุคคลธรรมดาที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ใช้อำนาจ  ในแนวความคิดเช่นนี้ รัฐหรือองค์กรที่ถือผลประโยชน์ส่วนรวม ย่อมมีจุดมุ่งหมายที่แน่นนอนภายใต้กรอบของกฎหมาย ที่เป็นเหมือนกฎกติกาที่สังคมสร้างขึ้น เมื่อใดก็ตามที่การใช้อำนาจของรัฐไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมาย ก็จะมีระบบการตรวจสอบควบคุมที่ทำให้ผู้ใช้อำนาจจะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข นอกจากนี้การแยกสภาพบุคคลของรัฐออกต่างหารจากปัจเจกบุคคลที่ใช้อำนาจยังทำให้เห็นความต่อเนื่องของการกระทำหรือเจตนาของรัฐที่สามารถผูกพันรัฐและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ขาดตอน ไม่สูญสลาย จนทำให้สังคมไม่มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่แน่นอน

                ในระบบงานของรัฐ ภายใต้กฎหมายจึงมีการจัดระเบียบ กำหนดขั้นตอนและสภาพบังคับต่างๆ เพื่อให้เห็นว่าบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจสาธารณะในนามของรัฐจะต้องใช้อำนาจไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายที่แสดงถึงความมีสภาพบุคคลของรัฐ เปรียบเสมือนกับการที่ผู้มีตำแหน่งในนิติบุคคลของเอกชน ย่อมจะต้องทำหน้าที่ไปตามขอบวัตถุประสงค์ นอกจากไม่ผูกพันรัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีกระบวนการเพิกถอน เปลี่ยนแปลงแก้ไข  ความซับซ้อนในระบบการบริหารงานของรัฐ ทำให้ในบางประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดสภาพบุคคลให้กับองค์กรของรัฐมากหรือน้อย เช่นในระบบกฎหมายของไทย ถือว่านิติบุคคลเกิดขึ้นได้โดยกฎหมาย จึงกำหนดให้ส่วนราชการ องค์กรและหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคลเท่านั้นที่มีสภาพบุคคล  ในขณะที่บางประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ ถือว่ารัฐมีสภาพบุคคลในทางกฎหมายมหาชน โดยไม่ต้องมีกฎหมายรองรับ ส่วนจะมีหน่วยงานใดมีสภาพบุคคลแยกต่างหาก เป็นข้อยกเว้น

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

 ข้อสอบกระบวนวิชา LW 104 (LA 103) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
--------------------------- คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนฯ ถ้าผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครต้องยื่นขอต่อ ……?
(1) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร    (2) หัวหน้าเขตที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่
(3) หัวหน้ากองทะเบียนกรมตำรวจ (4) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบ 3                    การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนฯ ต้องขอต่อนายทะเบียนท้องที่ กล่าวคือ ถ้าผู้ขอมี ภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องยื่นขอต่อหัวหน้ากองทะเบียน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กรมตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
2. สิ่งใดถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ?
(1) ตึกการบินไทย (2) ที่รกร้างว่างเปล่า (3) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (4) ที่ชายตลิ่ง
ตอบ 3                  ที่ราชพัสดุคือ อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังนี้ 1. ที่รกร้างว่างเปล่า …. 2. …. ที่ชายตลิ่ง …. รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล
3. ใบ ภบท.5 หรือใบภาษีบำรุงท้องที่ 5 เป็น……?
(1) หนังสือรับรองแสดงการครอบครองที่ดิน (2) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน
(3) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน               (4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4                ใบ ภบท.5 หมายถึง แบบแสดงรายการที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ ไม่ใช่หนังสือรับรองแสดงการครอบครองที่ดิน (..1) หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน (..3) หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (โฉนดที่ดิน)
4.ชายสัญชาติไทยต้องไปแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนเมื่อมีอายุครบ ……..ปีบริบูรณ์
(1) 18 ปีบริบูรณ์ (2) 17 ปีบริบูรณ์ (3) 20 ปีบริบูรณ์ (4) 16 ปีบริบูรณ์
ตอบ 2                ชายสัญชาติไทยซึ่งมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ในปีใด ต้องไปแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน
5. ตาม พ... ประถมศึกษา เด็กจะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาเมื่อมีอายุ
(1) 6 ปีบริบูรณ์ (2) ย่างเข้า 6 ขวบ (3) 8 ปีบริบูรณ์ (4) ย่างเข้า 8 ขวบ
ตอบ 4              เด็กที่มีอายุย่างเข้า 8 ขวบ ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาจนกระทั่งมีอายุถึง 15 ปี
6. บุคคลสัญชาติไทยจะต้องยื่นคำขอทำบัตรประจำตัวประชาชนเมื่อมีอายุครบ
(1) 18 ปีบริบูรณ์ (2) 15 ปีบริบูรณ์ (3) 20 ปีบริบูรณ์ (4) 17 ปีบริบูรณ์
ตอบ 2               บุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
7. เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้ผู้เป็นเจ้าบ้านหรือผู้ที่พบเห็นแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีการตายภายใน   
(1) ทันที (2) 12 ชั่วโมง (3) 24 ชั่วโมง (4) 48 ชั่วโมง
ตอบ 3        ในกรณีที่เป็นการตายนอกบ้าน ให้ผู้พบเห็นแจ้งต่อนายทะเบียนหรือตำรวจก็ได้ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พบศพหรือเวลาที่ตาย

8. กฎหมาย 12 โต๊ะเกิดขึ้นในสมัย
(1) กษัตริย์ริชาร์ดที่ 1 (2) กษัตริย์นโปเลียนที่ 3 (3) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (4) กษัตริย์จัสติเนียน
ตอบ 4                กฎหมาย 12 โต๊ะ เป็นจารีตประเพณีที่รวบรวมเป็นหมวดหมู่หรือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของกษัตริย์จัสติเนียน
9. ผู้ที่กล่าวว่า กฎหมายคือสัญญาประชาคมอันอยู่ในยุคที่ 4 นั้น คือ
(1) อริสโตเติล (2) ดีโมสเทนเนส (3) เคลเซ่น (4) มองเตสกิเออร์
ตอบ 2               ดีโมสเทนเนสเห็นว่าในยุคที่ 4 กฎหมายคือสัญญาประชาคม เมื่อคนในสังคมตกลงจะเคารพกฎหมายแต่ละคนจะต้องทำตามสัญญาที่ได้ให้ไว้
10. พระบิดาแห่งกฎหมายไทยคือ (1) กรมหลวงสงขลานครินทร์
(2) กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (3) กรมหลวงพิษณุโลกประชาสรรค์ (4) กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ตอบ 2                เสด็จในกรม กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒน-ศักดิ์) ทรงได้ชื่อว่าเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย
11. สิ่งใดต่อไปนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของสภาพบังคับ (Sanction) ทางกฎหมาย
(1) ปรับ (2) ใช้ค่าเสียหาย (3) กักขัง (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4                สภาพบังคับในทางอาญาคือโทษ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับในทางแพ่ง ได้แก่ การบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหม ทดแทนต่อกัน
12. ส่วนประกอบของรัฐคือ (1) ประชาชน อาณาเขต
(2) ประชาชน อำนาจอธิปไตย (3) ประชาชน อาณาเขต อำนาจอธิปไตย (4) รัฐบาล
ตอบ 3              “รัฐคือ ที่ที่มีประชาชนอยู่รวมกันในอาณาเขตอันใดอันหนึ่ง ภายใต้อำนาจอธิปไตยของตนเอง
13. สิ่งที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับกฎหมายแต่ไม่ใช่กฎหมายคือ
(1) ศีลธรรม (2) จริยธรรม (3) วัฒนธรรม (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1              สิ่งที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับกฎหมายแต่ไม่ใช่กฎหมายมี 3 อย่าง คือ 1. ศาสนา 2. ศีลธรรม 3. จารีตประเพณี
14. อะไรต่อไปนี้เป็นกฎหมายตามเนื้อความ (1) ... ป่าไม้
(2) ... ยาเสพติด (3) ... คุ้มครองสัตว์ป่า (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4              กฎหมายตามเนื้อความหรือกฎหมายแท้ ๆ คือ ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ
15. อะไรต่อไปนี้เป็นกฎหมายตามแบบพิธี
(1) ประกาศกระทรวง (2) กฎกระทรวง (3) ข้อบังคับกระทรวง (4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2              กฎหมายตามแบบพิธีคือ กฎหมายที่ออกมาโดยวิธีบัญญัติกฎหมาย ทั้งนี้โดย มิได้คำนึงถึงว่ากฎหมายนั้นเข้าลักษณะเป็นกฎหมายตามเนื้อความหรือไม่ ได้แก่ พระราช-บัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น