วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการอ่านหนังสือเบื้องต้น

1. ตั้งใจเรียน
     เทคนิคพื้นฐานเบสิคมากๆ ตั้งใจฟังครูอาจารย์ ไม่เข้าใจยกมือซักถาม ( สุ จิ ปุ ลิ )
2. ดูเนื้อหาที่จะสอบให้ดี
     เอาให้แม่นๆ ให้ชัวร์ว่าเราเรียนเรื่องอะไรมา แล้วที่เราเรียนมาอันไหนสิ่งไหนมันน่าจะออกก็ให้อ่านบ้าง อ่านเกินก็ได้ไม่ว่า แต่จะงง และเสียเวลาได้ แต่ถ้าอ่านขาดสิมีปัญหาแน่ๆ
3. เก็งข้อสอบให้ได้ ไม่ได้ก็ถามเพื่อนถามครูอาจารย์
     อันนี้โดยเฉพาะข้อสอบอัตนัย อาจารย์มักจะพูดหรือบอกแนว ออกมาว่าออกอะไร เราต้องจับจุดให้ได้ ลองถามเพื่อนดูก็ได้ หรือถ้าหยิ่ง ก็ลองพิจารณาดูว่าอาจารย์เน้นอะไรในห้อง ส่วนมากก็ไม่พ้นที่คุณท่านพูดในห้องหรอก (สำหรับเด็ก ป.ตรี ควรเขียนตอบข้อสอบจากสิ่งอื่นนอกเลคเชอร์ด้วย)
4. วางแผนเวลาการอ่านให้ตรง
    ตามความสามารถแต่ละบุคคล แต่ต้องตั้งเป้าไว้ว่า จะอ่านก่อน 1 เดือน 1 อาทิตย์ หรือ 1 คืน  ทีแนะนำที่สุด ตามปกติทั่วไป ก็สัก 1-2 อาทิตย์ กำลังดี ตั้งเป้าว่าจะอ่านให้จบวันไหนๆ จะได้ไม่พลาดหรือลืมอ่านวิชาที่เหลือ
 5. วางแผนหนังสือและชีทที่จะอ่านให้ดี     ค้นหนังสือและอะไรก็ตามที่เป็นความรู้เกี่ยวข้องกับวิชานั้นมาให้หมด และก็คัดสรรสิ่งที่ดี ที่เหมาะสมที่คู่ควรจะอ่านมา สรุปก็คือ หาหนังสือ/ชีทเพิ่มเติม แต่เน้นคุณภาพ ดูความสำคัญก่อน-หลังว่าจะอ่านอะไร สำหรับ จขบ.นั้น ถ้าเวลาเหลือพอ ก็จะอ่านข้อมูลประกอบให้หมดก่อนแค่รอบเดียว และค่อยอ่านข้อมูลที่เป็นพื้นฐานสำคัญหลายรอบ  แต่ถ้าเวลาไม่เหลือก็อ่านข้อมูลสำคัญก่อน และอ่านข้อมูลประกอบทีหลัง (แนะนำให้อ่านข้อมูลพื้นฐานก่อน)
6. ห้ามฝืน !! พักผ่อนให้พอ (สำคัญนะข้อนี้)
      หลายคนง่วงนอนแทบแย่แต่ยังฝืนทน ห้ามฝืน อันนี้สำคัญมาก ฝืนไปแค่นั้น ถ้าเริ่มง่วงก็ปล่อยให้ตัวเองหลับ แต่อย่าลืมเตือนสติ หรือตั้งนาฬิกาปลุกให้ตื่นในอีก 10นาที หรือ ครึ่ง ชม. ข้างหน้า
     ห้ามเวิ่นเว้อมากเกิน อาจจะพักด้วยการดูทีวี เล่นfacebook คุย msn แต่ต้องมีลิมิตนะ แต่ก็เวิ่นเว้อได้บ้าง เครียดเกินไม่ดี ทำให้สมองรับความรู้ได้ไม่มากพอ 

พักผ่อนให้เต็มอิ่ม บางคนโต้รุ่งแล้วยิ่งทำให้เบลอและลืมเลือน บางคนกินกาแฟจนตาโบ๋ กินเครื่องดื่มชูกำลัง อันนี้ไม่แนะนำ  แต่ก็แล้วแต่สภาพร่างกายและจิตใจของแต่ละคน ละกัน
7. กินข้าวอย่าอิ่มเกิน แต่จุกจิกบ้างได้         อิ่มท้องไปแล้วหนังตาหย่อน!!!!!! แถมยังทำให้รู้สึกอึดอัดอีกต่างหาก กินพอดีๆ และก็ อาจจะมีขนมหรือน้ำดิ่ม น้ำหวาน มาทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวยขึ้นบ้างก็ได้ ของหวานมีบ้างให้สมองตื่น
8. ตั้งสติ ก่อนสตาร์ท หนีพ้นทุกสถานการณ์ที่นำพาซึ่งกิเลส
 ตั้งสมาธิ ทำจิตใจให้ผุดผ่อง พยายามหลีกหนีสิ่งซึ่งจะชักจูงเราไปสู่ด้านมืด ของการอ่าน ไม่ควรอ่านหน้าคอมฯ หรือ ทีวี ไม่ควรอ่านหนังสือกับแฟน หรือคนที่ตัวเองหมายปอง
9. เลือกสถานที่อ่านให้เหมาะสมกับตัวเอง        บางคนมีที่ที่สร้างสมาธิต่างกัน บางคนอ่านในห้องนอนดีที่สุด บางคนบอกว่าห้องนอนชวนหลับ ต้องอ่านข้างนอก อ่านร้านกาแฟ ร้านอาหาร อ่านห้องสมุด บางคนชอบอากาศห้องแอร์ บางคนชอบอากาศปลอดโปร่ง บางคนอ่านคนเดียว บางคนชอบอ่านกับเพื่อน ต้องตอบตัวเองให้ได้!! 
10.อย่าอ่านเพื่อแค่จะบอกตัวเองว่าได้อ่านไปแล้ว แต่อ่านเพื่อเข้าใจ
       หลายๆคน อ่านหนังสือเพื่อแค่ให้ผ่านตา ให้รู้สึกว่าตัวเองจับหนังสือแล้ว อันนั้นไม่ถูกต้องเลย วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การอ่านไปคิดไป พยายามเชื่อมโยงสิ่งที่อ่านมา ไม่รู้เรื่องก็อ่านซ้ำตรงนั้นมันอีกที ช้าหน่อยแต่รับรองว่า ไม่ต้องเสียเวลาอ่านอีกเป็นสามสี่รอบ อย่างบางคนอาจจะใช้เวลาอ่านหน้านึงประมาณ 3-5 นาที ส่วนอ่านภาษาอังกฤษก็อาจจะประมาณ 8-10 นาที 
        ** อย่าลืมเป้าหมายการอ่าน เพื่อเอาเนื้อหาไปสอบ ไม่ใช่เพื่อปลอบใจตนว่าอ่านแล้วๆ
** 
11.จับใจความสำคัญให้ได้    ข้อนี้ก็เชื่อมโยงกับข้อแรก สร้างความเข้าใจแต่ไม่ใช่จับทุกตัวอักษรมาเป็นสารัตถะหมด เมื่อเราอ่านหนังสือเพื่อเข้าใจมัน อ่านไปคิดไปแล้ว แปลว่า เราต้องจับใจความสำคัญให้ได้ว่าเนื้อหาอยู่ที่ไหน เขาจะบอกอะไรเรา และอะไรที่เขาไม่บอกแต่เราว่าเขาแอบบอกเรา หรือบางทีเราอาจจะคิดออกแม้เขาไม่บอก