วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

โจทย์อุทาหรณ์ เรื่องสัญญาต่างตอบแทน

ข้อ 1. นางคอรี่อยู่จังหวัดสงขลา ได้ตกลงทำสัญญาซื้อเครื่องเพชรชุดที่ชื่อ  "เกียรติสยาม" ชุดเดียวที่มีอยู่ในร้านเพชรงามที่กรุงเทพราคา2 ล้านบาทโดยกำหนดให้ร้านเพชรงามผู้ขายจัดส่งชุดเครื่องเพชรนี้ไปทางเครื่องบินร้านเพชรงามได้ส่งเครื่องเพชรนี้ไปเมื่อวันที่25 มีนาคม2550 โดยเที่ยวบินที่DG 1109 ของบริษัทการบินสยามปรากฏว่าขณะที่เครื่องบินอยู่เหนืออ่าวไทยเกิดเครื่องขัดข้องทำให้เครื่องบินตกลงสู่ก้นทะเลลึกดังนี้ถามว่านางคอรี่จะปฏิเสธไม่ชำระเงิน2 ล้านบาทและเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบเครื่องเพชรชุดที่ชื่อ“เกียรติสยาม” ชุดใหม่ให้อีกได้หรือไม่กรณีจะเป็นอย่างไรถ้าเครื่องบินได้ไปถึงจังหวัดสงขลาโดยปลอดภัยและนางคอรี่ได้รับมอบเครื่องเพชรนั้นแล้วและคืนวันนั้นเองเครื่องเพชรก็ถูกขโมยไปโดยที่นางคอรี่ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลเป็นอย่างดีแล้วดังนี้ถามว่านางคอรี่จะปฏิเสธไม่ชำระเงิน2 ล้านบาทและเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบเครื่องเพชรชุด“เกียรติสยาม” อีกชุดหนึ่งได้หรือไม่

หลักกฎหมาย
1.กรณีตามปัญหาโจทย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักกฎหมายไว้ดังนี้
  
     1.1 มาตรา 370 วรรคแรก วางหลักไว้ว่า การใดเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่วัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
และทรัพย์นั้นได้สูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอันใดอันหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
     1.2 มาตรา 219 วรรคแรก วางหลักไว้ว่า ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นการพ้นวิสัย อันเกิดหลังจากการก่อหนี้ขึ้น และไม่สามารถโทษลูกหนี้ได้ ท่านว่า
ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น
 
      จากข้อเท็จจริงตามปัญหาโจทย์วินิฉัยได้ว่า การทำสัญญาซื้อขายชุดเครื่องเพชรชื่อ เกียรติสยาม ระหว่าง นางคอรี่ และร้านเพชรงาม เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์ในการก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และได้มีการส่งชุดเครื่องเพชรมาทางเครื่องบิน  แต่ในระหว่างเครื่องบินเกิดขัดข้อง ตกลงสู่ก้นทะเลลึก ทำให้ชุดเครื่องเพชรได้สูญหายไป และทำให้การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัย ซึ่งการสูญหายไปของชุดเครื่องเพชรจะโทษร้านเพชรงามลูกหนี้มิได้ และทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฃำระหนี้ แต่การสูญรือเสียหายนั้นจะตกเป็นพับแก่นางคอรี่เจ้าหนี้ กล่าวคือ นางคอรี่จะปฏิเสธการชำระเงิน 2 ล้านบาท และเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบชุดเครื่องเพชรชุดใหม่มิได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 219 วรรคแรก
      ในกรณีที่เครื่องบินได้นำชุดเครื่องเพชรมาส่งถึงนางคอรี่อย่างปลอดภัย และก็ได้ถูกขโมยไปในคืน ทำให้เครื่องเพชรได้สูญหายไป และทำให้การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัย ซึ่งการสูญหายไปของชุดเครื่องเพชร
จะโทษร้านเพชรงามลูกหนี้มิได้ และทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ แต่การสูญรือเสียหายนั้นจะตกเป็นพับแก่นางคอรี่เจ้าหนี้ กล่าวคือ นางคอรี่จะปฏิเสธการชำระเงิน 2 ล้านบาท และเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบชุดเครื่องเพชรชุดใหม่มิได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 219 วรรคแรก
     สรุปว่า เหตุผลที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ในกรณีทั้ง 2 กรณี นางคอรี่จะปฏิเสธการไม่ชำระเงิน 2 ล้านบาท และเรียกร้องให้ร้านเพชรงามส่งมอบเครื่องเพชรชุดใหม่มิได้

ข้อ 2. นาย ก ทำสัญญาซื้อขายเปียโนใช้แล้วจากนาย ข ซึ่งเป็นเปียโนหลังเดียวที่นาย ข มีอยู่ในราคา 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไขว่าสัญญาซื้อขายเปียโนดังกล่าวจะมีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเมื่อเด็กหญิงเอบุตรสาวของนาย ก สำเร็จวิชาการดนตรีจากโรงเรียนเปียโนกลการต่อมาอีก 3 เดือนปรากฏว่าเด็กหญิงเอ บุตรสาวของนาย ก สอบสำเร็จวิชาการดนตรี รุ่งขึ้นนาย กจึงได้ไปติดต่อขอชำระราคาเปียโนที่ซื้อกับนาย ข ปรากฏว่านาย ข บอกว่าเมื่อก่อนหน้านี้สักสองอาทิตย์บุตรชายของตนได้ทดลองหัดเล่นเปียโนหลังดังกล่าวจึงได้ร่วมเล่นด้วย แต่เกิดปัญหาขึ้นคือระบบเสียงของเปียโนหลังนั้นเสีย ช่างได้มาตรวจสอบแล้วมีความเห็นว่า ถ้าจะต้องซอ่ มเพื่อให้อยู่ในสภาพดีเหมือนเดิมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 บาท นาย ข ไม่มีเงินจึงยังปล่อยให้เสียอยู่อย่างนั้นหากนาย ก มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำแนะนำนาย ก อย่างไรจงอธิบายพร้องยกหลักกฎหมาย

หลักกฎหมาย
2.กรณีตามปัญหาโจทย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักกฎหมายไว้ดังนี้
   2.1 มาตรา 371 วรรคสอง วางหลักไว้ว่า  ถ้าความเสียหายนั้น เกิดขึ้นจากเหตุอันใดอันหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้มิได้ เจ้าหนี้สามารถที่จะเลือกที่ชำระหนี้โดยลดอัตราส่วนการชำระหนี้ลง หรือเลิกสัญญาก็ได้ และเรียกให้ลูกชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ได้
   จากข้อเท็จจริงตามปัญหาโจทย์วินิจฉัยได้ว่า การที่นาย ก. ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายเปียโนหลังเดียวที่นาย ข. มี และสัญญาจะมีผลก็ต่อเมื่อ บุตรสาวของ นาย ก. ได้สำเร็จการศึกษาวิชาการดนตรีก่อนเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุในการก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่ง โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
   ต่อมาบุตรสาวของ นาย ก.ได้สำเร็จการศึกษาวิชาวิชาการดนตรี ทำให้สัญญาซื้อขายที่เงือนไขบังคับก่อนสำเร็จ และสัญญาซื้อขายจึงได้เกิดขึ้น และในวันรุ่งขึ้น นาย ก. ก็ได้ไปติดต่อขอชำระราคาเปียโนหลังเดียวของ นาย ข. แต่ปรากฏว่าเปียโนหลังเดียวของ นาย ข. เกิดระบบเสียเสียหายจากการที่ บุตรชายของ นาย ข. ได้ฝึกเล่น และนาย ข. ก็ร่วมเล่นด้วย
   ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน ซึ่งความเสียดายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความผิดที่เกิดขึ้นจากนาย ข. ลูกหนี้ ซึ่งจะโทษนาย ก. เจ้าหนี้ มิได้ และนาย ก. เจ้าหนี้ ก็สามารถที่จะเลือกที่จะชำระราคาเปียโนโดยลดอัตราส่วรลง หรือเลือกที่จะบอดเลิกสัญญาซื้อขายเปียโน และเรียกค่าสินไหมทดแทนก็ได้ ตาม  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 371 วรรคสอง
   ด้วยเหตุผลที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นสรุปได้ว่า นาย ก. มีสิทธิที่จะเลือกที่จะชำระราคาเปียโนโดยลดอัตราส่วรลง หรือเลือกที่จะบอดเลิกสัญญาซื้อขายเปียโน และเรียกค่าสินไหมทดแทนก็ได้

ข้อ 3. นาย ก.ทำสัญญาเช่าบ้านจากนาย ข. โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนว่าสัญญาเช่าบ้านจะมีผลต่อเมื่อบุตรชายของนาย ก. กลับจากต่างประเทศมาถึงเมืองไทยเสียก่อน ปรากฏว่าในคืนก่อนที่บุตรชายนาย ก. จะกลับถึงเมืองไทยบ้านที่นาย ข. จะให้นาย ก. เช่าเกิดไฟไหม้หมดไปทั้งหลัง ทั้งนี้เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร อยากทราบว่าเมื่อบุตรชายของนาย ก. กลับมาถึงเมืองไทยแล้วนาย ก. จะเรียกร้องสิทธิและประโยชน์จากนาย ข. ได้หรือไม่อย่างไร อธิบาย

หลักกฎหมาย
3.กรณีตามปัญหาโจทย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักกฎหมายไว้ดังนี้
  3.1 มาตรา 372 วรรคแรก วางหลักไว้ว่า นอกจากกรณีตาม มาตรา 370 และมาตรา 371 ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นการพ้นวิสัย เพราเหตุอันใดอันหนึ่ง อันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ ท่านว่าลูกหนี้ไม่มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้ตอบแทน
  
     จากข้อเท็จจริงตามปัญหาโจทย์วินิจฉัยได้ว่า การทำสัญญาเช่าบ้านระหว่าง นาย ก. และนาย ข. และสัญญาจะมีผลก็ต่อเมื่อ บุตรชายของนาย ก. กลับมาจากต่างประเทศ เป็นสัญญาต่างตอบแทน
แต่ไมามีวัตถุประสงค์ในการก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่ง โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
   ต่อมาบุตรชายของนาย ก. ได้กลับมาจากต่างประเทศ และในคืนวันเดียวกัน ได้เกิดไฟฟ้ารัดวงจร และทำให้บ้านเกิดไฟใหม้ทั้งหลัง ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นการพ้นวิสัย ซึ่งจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
มิได้ กล่าวคือ นาย ก. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องและประโยชน์จากนาย ข. ลูกหนี้ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372 วรรคแรก
  
   สรุปได้ว่า นาย ก. ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องและประโยชน์จากนาย ข. ได้

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการอ่านหนังสือเบื้องต้น

1. ตั้งใจเรียน
     เทคนิคพื้นฐานเบสิคมากๆ ตั้งใจฟังครูอาจารย์ ไม่เข้าใจยกมือซักถาม ( สุ จิ ปุ ลิ )
2. ดูเนื้อหาที่จะสอบให้ดี
     เอาให้แม่นๆ ให้ชัวร์ว่าเราเรียนเรื่องอะไรมา แล้วที่เราเรียนมาอันไหนสิ่งไหนมันน่าจะออกก็ให้อ่านบ้าง อ่านเกินก็ได้ไม่ว่า แต่จะงง และเสียเวลาได้ แต่ถ้าอ่านขาดสิมีปัญหาแน่ๆ
3. เก็งข้อสอบให้ได้ ไม่ได้ก็ถามเพื่อนถามครูอาจารย์
     อันนี้โดยเฉพาะข้อสอบอัตนัย อาจารย์มักจะพูดหรือบอกแนว ออกมาว่าออกอะไร เราต้องจับจุดให้ได้ ลองถามเพื่อนดูก็ได้ หรือถ้าหยิ่ง ก็ลองพิจารณาดูว่าอาจารย์เน้นอะไรในห้อง ส่วนมากก็ไม่พ้นที่คุณท่านพูดในห้องหรอก (สำหรับเด็ก ป.ตรี ควรเขียนตอบข้อสอบจากสิ่งอื่นนอกเลคเชอร์ด้วย)
4. วางแผนเวลาการอ่านให้ตรง
    ตามความสามารถแต่ละบุคคล แต่ต้องตั้งเป้าไว้ว่า จะอ่านก่อน 1 เดือน 1 อาทิตย์ หรือ 1 คืน  ทีแนะนำที่สุด ตามปกติทั่วไป ก็สัก 1-2 อาทิตย์ กำลังดี ตั้งเป้าว่าจะอ่านให้จบวันไหนๆ จะได้ไม่พลาดหรือลืมอ่านวิชาที่เหลือ
 5. วางแผนหนังสือและชีทที่จะอ่านให้ดี     ค้นหนังสือและอะไรก็ตามที่เป็นความรู้เกี่ยวข้องกับวิชานั้นมาให้หมด และก็คัดสรรสิ่งที่ดี ที่เหมาะสมที่คู่ควรจะอ่านมา สรุปก็คือ หาหนังสือ/ชีทเพิ่มเติม แต่เน้นคุณภาพ ดูความสำคัญก่อน-หลังว่าจะอ่านอะไร สำหรับ จขบ.นั้น ถ้าเวลาเหลือพอ ก็จะอ่านข้อมูลประกอบให้หมดก่อนแค่รอบเดียว และค่อยอ่านข้อมูลที่เป็นพื้นฐานสำคัญหลายรอบ  แต่ถ้าเวลาไม่เหลือก็อ่านข้อมูลสำคัญก่อน และอ่านข้อมูลประกอบทีหลัง (แนะนำให้อ่านข้อมูลพื้นฐานก่อน)
6. ห้ามฝืน !! พักผ่อนให้พอ (สำคัญนะข้อนี้)
      หลายคนง่วงนอนแทบแย่แต่ยังฝืนทน ห้ามฝืน อันนี้สำคัญมาก ฝืนไปแค่นั้น ถ้าเริ่มง่วงก็ปล่อยให้ตัวเองหลับ แต่อย่าลืมเตือนสติ หรือตั้งนาฬิกาปลุกให้ตื่นในอีก 10นาที หรือ ครึ่ง ชม. ข้างหน้า
     ห้ามเวิ่นเว้อมากเกิน อาจจะพักด้วยการดูทีวี เล่นfacebook คุย msn แต่ต้องมีลิมิตนะ แต่ก็เวิ่นเว้อได้บ้าง เครียดเกินไม่ดี ทำให้สมองรับความรู้ได้ไม่มากพอ 

พักผ่อนให้เต็มอิ่ม บางคนโต้รุ่งแล้วยิ่งทำให้เบลอและลืมเลือน บางคนกินกาแฟจนตาโบ๋ กินเครื่องดื่มชูกำลัง อันนี้ไม่แนะนำ  แต่ก็แล้วแต่สภาพร่างกายและจิตใจของแต่ละคน ละกัน
7. กินข้าวอย่าอิ่มเกิน แต่จุกจิกบ้างได้         อิ่มท้องไปแล้วหนังตาหย่อน!!!!!! แถมยังทำให้รู้สึกอึดอัดอีกต่างหาก กินพอดีๆ และก็ อาจจะมีขนมหรือน้ำดิ่ม น้ำหวาน มาทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวยขึ้นบ้างก็ได้ ของหวานมีบ้างให้สมองตื่น
8. ตั้งสติ ก่อนสตาร์ท หนีพ้นทุกสถานการณ์ที่นำพาซึ่งกิเลส
 ตั้งสมาธิ ทำจิตใจให้ผุดผ่อง พยายามหลีกหนีสิ่งซึ่งจะชักจูงเราไปสู่ด้านมืด ของการอ่าน ไม่ควรอ่านหน้าคอมฯ หรือ ทีวี ไม่ควรอ่านหนังสือกับแฟน หรือคนที่ตัวเองหมายปอง
9. เลือกสถานที่อ่านให้เหมาะสมกับตัวเอง        บางคนมีที่ที่สร้างสมาธิต่างกัน บางคนอ่านในห้องนอนดีที่สุด บางคนบอกว่าห้องนอนชวนหลับ ต้องอ่านข้างนอก อ่านร้านกาแฟ ร้านอาหาร อ่านห้องสมุด บางคนชอบอากาศห้องแอร์ บางคนชอบอากาศปลอดโปร่ง บางคนอ่านคนเดียว บางคนชอบอ่านกับเพื่อน ต้องตอบตัวเองให้ได้!! 
10.อย่าอ่านเพื่อแค่จะบอกตัวเองว่าได้อ่านไปแล้ว แต่อ่านเพื่อเข้าใจ
       หลายๆคน อ่านหนังสือเพื่อแค่ให้ผ่านตา ให้รู้สึกว่าตัวเองจับหนังสือแล้ว อันนั้นไม่ถูกต้องเลย วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การอ่านไปคิดไป พยายามเชื่อมโยงสิ่งที่อ่านมา ไม่รู้เรื่องก็อ่านซ้ำตรงนั้นมันอีกที ช้าหน่อยแต่รับรองว่า ไม่ต้องเสียเวลาอ่านอีกเป็นสามสี่รอบ อย่างบางคนอาจจะใช้เวลาอ่านหน้านึงประมาณ 3-5 นาที ส่วนอ่านภาษาอังกฤษก็อาจจะประมาณ 8-10 นาที 
        ** อย่าลืมเป้าหมายการอ่าน เพื่อเอาเนื้อหาไปสอบ ไม่ใช่เพื่อปลอบใจตนว่าอ่านแล้วๆ
** 
11.จับใจความสำคัญให้ได้    ข้อนี้ก็เชื่อมโยงกับข้อแรก สร้างความเข้าใจแต่ไม่ใช่จับทุกตัวอักษรมาเป็นสารัตถะหมด เมื่อเราอ่านหนังสือเพื่อเข้าใจมัน อ่านไปคิดไปแล้ว แปลว่า เราต้องจับใจความสำคัญให้ได้ว่าเนื้อหาอยู่ที่ไหน เขาจะบอกอะไรเรา และอะไรที่เขาไม่บอกแต่เราว่าเขาแอบบอกเรา หรือบางทีเราอาจจะคิดออกแม้เขาไม่บอก

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

6 อุปนิสัยสร้างเด็กให้ประสบความสำเร็จ

               วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาแนะนำ ท่านพ่อแม่ผู้ปกครองหรือน้องๆ เกี่ยวกับการสร้างอุปนิสัยเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคตเมื่อโตขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองลองสังเกตลูกๆ ว่ามีอุปนิสัยอย่างที่เรานำมาแนะนำหรือไม่ ถ้ารู้จักเทคนิคต่างๆ แล้วเราควรปลูกฝังเขาตั้งแต่เขายังเป็นเด็กอยู่เพื่อความสำเร็จในชีวิต
(เด็กที่ประสบความสำเร็จคือ เด็กที่มีวิสัยทัศน์)
        เด็กวัยพรีทีนหรือวัยรุ่น เป็นช่วงที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก และพร้อมสำหรับการรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในชีวิต ซึ่งในจุดนี้ทำให้เขาพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพ และวิสัยทัศน์ให้เฉียบคม เพื่อที่เขาจะนำมันไปใช้รับมือกับอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตต่อไป
(เด็กที่ประสบความสำเร็จคือเด็กที่ทำงานเป็นทีมได้)
       การทำงานเป็นทีมมักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการทำงานเพียงคนเดียวหลายเท่าพันทวี และมักสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่สังคมได้มากมาย เด็กที่จะผ่านจุดนี้ไปได้นั้น ต้องเรียนรู้ให้มากกว่าการยึดเอาตามความคิดของ "ฉัน" หรือความคิดของ "เธอ" แต่เป็นการรวมสมองเพื่อมองหาทางที่แตกต่าง ทางใหม่ๆ ที่ทุกคนสามารถได้รับประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน
(เด็กที่ประสบความสำเร็จคือเด็กที่มีแนวคิดแบบ Win-Win)
     ในโลกใบนี้ การต้องมีผู้แพ้ - ผู้ชนะในการแข่งขันดูจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่มันจะดีมากกว่า หากเด็กๆ ได้เรียนรู้การทำให้เกิดผู้ชนะทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครเป็นฝ่ายแพ้ เด็กจะได้เรียนรู้จากบรรยากาศที่ทุกฝ่ายสามารถฉลองชัยร่วมกันได้ แทนที่จะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกเยาะเย้ยจากความพ่ายแพ้
(เด็กที่ประสบความสำเร็จคือเด็กที่รู้จักฟัง)
     ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายบนโลกใบนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่รับฟังคนอื่นมากพอ จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างกัน การฝึกการฟังให้เด็กเป็นผู้ฟังอย่างมีสติ จับประเด็นได้ถูกต้อง จะทำให้เขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้ง่ายและเร็วกว่าคนอื่น
(เด็กที่ประสบความสำเร็จคือ เด็กที่มีความมั่นใจ สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้)
     ความมั่นใจเป็นกุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกเด็กวัยรุ่นสู่อิสรภาพ รวมถึงปลดปล่อยความสามารถในด้านอื่นๆ ของตนเองออกมา พ่อแม่จึงควรสนับสนุนให้ลูกวัยรุ่น หรือวัยพรีทีนมีโอกาสแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ด้วยตัวเอง และรับผิดชอบชีวิตของตนเอง เด็กที่มีความมั่นใจจะเข้าใจว่า ตัวเขาเองคือ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้าย และเขาจะไม่กลายเป็นเด็กที่ชอบโทษคนอื่น หรือสิ่งอื่นว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาด้วย
(เด็กที่ประสบความสำเร็จคือเด็กที่มีเป้าหมายในชีวิต)
     
เด็กวัยรุ่น หรือเด็กวัยพรีทีนจำนวนไม่น้อยเกิดความสับสนเกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิต และคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ เขาอาจไม่ทราบว่า ทำไมเขาถึงต้องทำสิ่งนี้ เขาจะประสบความสำเร็จ เด็ก ที่รู้จักจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง และรู้จักการบริหารเวลา จะทำให้เขาสามารถพุ่งความสนใจในสิ่งที่ควรให้ความสนใจเป็นอันดับแรก และทำมันได้สำเร็จ อีกทั้งความหมายของหัวข้อดังกล่าวยังมองไปถึงการก้าวข้ามความกลัว ซึ่งเป็นอุปสรรคในการตัดสินใจในช่วงเวลาสำคัญๆ ได้อีกด้วย


วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการจำ ต้องเริ่มตั้งแต่การรับข้อมูล : สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

  “บางสิ่งที่อยากจำเรากลับลืม บางสิ่งที่อยากลืมเรากลับจำ คนเรานี้คิดให้ดีก็น่าขัน อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ”
     
       เป็นท่อนฮุกของบทเพลงของ เดอะฮอท เปปเปอร์ ซิงเกอร์ นักร้องสาวดูโอที่เคยโด่งดังมากในอดีต เชื่อว่าหลายๆ ท่านก็เคยโดนใจและเห็นด้วยกับประโยคที่ว่านั่นกันมาบ้างแล้ว

 

       ตอนฟังบทเพลงๆ นั้นยังจำได้ว่าเห็นด้วยและชื่นชอบจัง
       และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ “จำ” บทเพลงนั้นได้จนถึงทุกวันนี้
     
       เพียงแต่วันนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมคนเราอยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ...!!
       เพราะมันเกี่ยวข้องกับสมองโดยตรงของเรานั่นเอง
       สมองคนเรามีความจำแบบไหน ?
       แบบที่มีการจำอัตโนมัติ มีทั้งการจำผ่านการท่องซ้ำๆ และมีการจำแบบมีเรื่องราว เหตุการณ์ รวมถึงจำแบบมีการเชื่อมโยง
     
       ส่วนเรื่องที่คนเรามักจะจดจำมีเรื่องอะไร แบ่งคร่าวๆ ในเรื่องหลักๆ ได้ดังนี้
       
- จำภาษา คำพูด
       - จำบุคคล สถานที่ ตัวเลข
       - จำเหตุการณ์เรื่องราว

     
       แต่...ก่อนที่คนเราจะเกิดความจำขึ้นมาได้ ต้องมีการรับข้อมูลต่างๆ ก่อน
     
       เริ่ม จากเมื่อมีข้อมูลผ่านเข้ามาในสมอง ข้อมูลจะถูกส่งไปที่สมองส่วนกลาง (ธาลามัส) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโอเปอร์เรเตอร์ในสมอง และจะคอยส่งข้อมูลไปยังสมองส่วนต่างๆ เช่น ถ้ามองเห็นภาพ ก็จะส่งไปยังสมองส่วนรับภาพ และถ้าเป็นการฟัง ก็จะส่งต่อไปยังส่วนการรับฟัง ฯลฯ
     
       และเมื่อกระบวนการ ส่งข้อมูลถูกต้องครบถ้วน สมองที่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับความจำคือ ฮิปโปแคมปัส และอะมิกดาลา จะรับช่วงต่อว่าจะจัดการข้อมูลนั้นๆ อย่างไร
     
       ถ้า ข้อมูลที่เป็นเรื่องราวปกติ ฮิปโปแคมปัสจะเก็บไว้จนกว่าจะถูกลำเลียงเข้าไปอยู่ในความทรงจำระยะยาวบริเวณ สมองส่วนหน้า และจัดเข้าไปอย่างเป็นระเบียบเพื่อจะนำไปใช้ในอนาคต
     
       แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เป็นหน้าที่ของอะมิกดาลา
     
      ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) อยู่ลึกเข้าไปในสมองส่วนขมับ ทำหน้าที่จัดกระบวนความรู้ที่ปรากฏจริงรอบๆ ตัวเรา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดเก็บข้อมูลจากความทรงจำระยะสั้น เข้าไปเก็บไว้ระบบ ความทรงจำระยะยาว ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ตลอดชีวิต
     
       การ จัดเก็บความทรงจำในเด็กอายุก่อน 10 ปี จะเกิดขึ้นในขณะเด็กหลับ จึงเป็นเหตุผลว่าเด็กควรได้นอนเต็มที่อย่างน้อย 9-10 ชั่วโมงต่อวัน
     
      อะมิกดาลา (Amygdala) อยู่บริเวณสมองส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ โดยเฉพาะความรู้สึกพื้นฐาน เช่น ความกลัว ความก้าวร้าว ทำหน้าที่จัดระบบด้วยความรู้สึก
     
       ในช่วงวัยรุ่นจะใช้สมองส่วนนี้มาก จึงไม่แปลกถ้าวัยรุ่นจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
     
       และ นั่นหมายรวมไปถึงว่า เหตุใดเวลามีเรื่องราวประทับใจ หรือมีเรื่องเศร้ากระทบกระเทือนจิตใจ เราจึงสามารถจดจำได้ดี ก็เพราะสมองส่วนนี้ทำงานนั่นเอง
     
       ฉะนั้น การที่จะทำให้เด็กมีความจำที่ดี พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่ามีส่วนสัมพันธ์กับสมอง เด็กจะมีความจำดีได้ ต้องเริ่มจากการรับข้อมูล และมีกระบวนการเรียนรู้เบื้องต้นที่ดีก่อน
     
       ****และ...การรับข้อมูลที่ดีที่สุด คือ รับผ่านประสาทสัมผัส****
     
       การเรียนรู้จะเกิดได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อให้เซลล์ประสาทในสมองรับความรู้สึกต่างๆ ทั้งการมองเห็นภาพ ได้ยินเสียง รับรู้กลิ่น ได้รับความรู้สึกทางผิวหนัง ความรู้สึกที่ได้รับจะถูกส่งไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมอง
     
       เมื่อสมองทำการกรองจัดลำดับความสำคัญแล้วก็จะถูกบันทึกไปยังส่วนความจำ
     
       ฉะนั้น การให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสอย่างสม่ำเสมอ ด้วยอารมณ์และความรู้สึกในขณะที่เรียนรู้เป็นด้านบวก ก็จะยิ่งทำให้ความทรงจำที่ดีเข้าไปประทับอยู่ในสมองเด็กมากขึ้น
     
       ยิ่ง ถ้าวัยขวบปีแรก เด็กได้รับการรับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสในด้านบวกอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เด็กทีแนวโน้มมีความจำที่ดีเมื่อโตขึ้น
     
       การ มีความจำที่ดี นอกจากผู้ใหญ่ต้องส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์ต่างๆ แล้ว ยังต้องขึ้นกับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ด้วย เด็กควรได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอเหมาะกับวัย และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ รวมถึงสภาวะจิตใจที่พร้อมด้วย
     
       แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของคน เป็นพ่อแม่ที่มีลูกเล็กมักจะมีคำถามเรื่องความจำที่เอนไปเกี่ยวข้องกับ เรื่องการเรียนเป็นส่วนใหญ่ เช่น ลูกเรียนหนังสือแล้วมักจำไม่ค่อยได้ ต้องท่องจำซ้ำๆ บ่อยๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงต้องฝึกเรื่องการจำโดยการรับข้อมูลตั้งแต่วัยทารก ไม่ใช่ฝึกเมื่อตอนเข้าโรงเรียน

จาก ม.ปลาย สู่ มหาวิทยาลัย - เรียนอย่างไรให้ได้ A

     

               สำหรับ เด็กที่กำลังเตรียมตัวสอบกันอยู่ โดยเฉพาะการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างก็ต้องเครียดกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อสอบเข้าได้แล้วใครจะคิดว่า มีเรื่องที่ต้องเครียดมากกว่าเดิมหลายเท่านัก นั่นก็คือการปรับตัวให้เข้ากับระบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ต้องตื่นเช้าไปโรงเรียน มีการทำกิจกรรมหน้าเสาธง ฯลฯ สิ่งเหล่านั้นจะหายไปเมื่อเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัย ดังนั้นเด็กๆ ทุกคนคงต้องมีการปรับตัวกันขนานใหญ่ ทั้งเรื่องการเรียน ความรับผิดต่อตนเอง รวมถึงการที่จะทำอย่างไรให้เรียนได้ผลการเรียนดี วันนี้เรามีเคล็ดลับมาบอก...

   1. สำหรับพวกวิชาเคมี คณิตศาสตร์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ อะไรทำนองนี้ จะเจอมากเลยสำหรับน้องๆ ที่เรียนในคณะสายวิทย์ แต่สำหรับคณะสายศิลป์ก็เจอบ้าง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งดูเหมือนว่า จะไม่ยาก เพราะเราเคยเรียนมาหมดแล้วใน ม.ปลาย แต่มันยากตรงที่เนื้อหาแต่ละเรื่องเรียนเร็วมากๆ เร็วกว่าใน ม.ปลาย ประมาณ 3-4 เท่า อย่างเช่น วิชาชีววิทยานั้นต้องเรียนเนื้อหาที่เคยเรียนตั้งแต่ ม.4- ม.6 ให้จบภายในเทอมเดียว (จาก 3 ปี เหลือ 1 เทอม)

     แนวทางการปรับตัว

   2.   ตั้งใจ เรียนให้มากขึ้น หมั่นทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ ถ้าเป็นไปได้ไปเอาสมุดโน้ต หนังสือเรียนเก่าๆ สมัย ม.ปลาย มาทบทวนดู เพราะว่าเนื้อหาในมหาวิทยาลัยที่อาจารย์สอนนั้นมันจะรวบรัดมากๆ ไม่ละเอียดเท่าของ ม.ปลาย (เฉพาะน้องๆ ปี 1) ดังนั้นถ้าเราอ่านของ ม.ปลาย จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น

   3. ข้อแตกต่างต่อมาเป็นเรื่องของความ อิสระ ที่เราจะได้รับอย่างมากในรั้วมหาวิทยาลัย ดังนั้นถ้าเราควบคุมตนเองไม่ได้ ความอิสระที่เราได้รับนั้นจะกลับกลายเป็นดาบมาทำร้ายตัวเราเอง

      แนวทางการปรับตัว

      เรา ต้องควบคุมตนเองให้อยู่อย่าออกนอกลู่นอกทาง แล้วที่สำคัญต้องแบ่งเวลาให้เป็นด้วย ต้องรู้ว่าเวลาไหนควรเที่ยว เวลาไหนควรตั้งใจเรียน ไม่ใช่ว่า เก้าโมง คือเวลาเรียนแต่แอบโดดไปเที่ยว จริงอยู่ว่า ในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะไม่มีการเช็คชื่อหรือเช็คเวลาเข้าเรียน แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ ก็จะทำให้เราเรียนไม่ทันเพื่อนๆ

   4. รู้หรือไม่ ? การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ส่วนใหญ่คะแนนที่ได้ เกรดที่ออกล้วนมาจากการสอบทั้งนั้น ไม่มีคะแนนพิศวาส หรือคะแนนเก็บ คะแนนทำงานเหมือนใน ม.ปลาย

      แนวทางการปรับตัว

      วิธี การปรับตัวนั้น เราต้องตั้งใจเรียนและเอาใจใส่ต่อวิชานั้นๆ อย่างมาก ที่สำคัญไม่ควรโดดเด็ดขาด เพราะแม้ว่าคะแนนช่วย คะแนนจากการเข้าห้องเรียน จะไม่สำคัญแล้ว แต่การที่เราโดดเรียน จะทำให้เราไม่เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน ซึ่งจะทำให้เรามาเหนื่อยช่วงใกล้สอบนั่นเอง

      การมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ สำหรับการเรียน
      ในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
   5. การช่วยเหลือตัวเอง คือเรื่องใหญ่มากในรั้วมหาวิทยาลัย การช่วยเหลือตัวเองในที่นี้ หมายถึง ถ้าเรามีปัญหาการเรียน หรือต้องการติดต่ออาจารย์นั้น เราต้องติดต่อเอง ไม่มีอาจารย์มาคอยจ้ำจี้จ้ำไชเราเหมือนตอน อยู่ ม.ปลายแล้ว

      แนวทางการปรับตัว

      ใน รั้วมหาวิทยาลัยนั้น เราจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษาเราเวลาเรามีปัญหาอะไร ก็ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาของเราได้ และนอกจากนี้วิชาที่เราเรียนบางวิชาก็จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำวิชา และผู้ช่วยสอนคอยให้คำปรึกษาเราอยู่ด้วย ดังนั้น ไม่ควรอายที่จะเข้าหาอาจารย์ เพราะถ้าเราไม่กล้าที่จะเข้าหาอาจารย์ จะทำให้เราเรียนอย่างลำบากมากๆ

   6. เพื่อน คือ สิ่งสำคัญ ในรั้วมหาหาวิทยาลัย ใน ม.ปลาย เราอาจยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของเพื่อนในด้านการเรียนมากนัก เพราะเรามักจะนึกถึงเพื่อนในเรื่องของความสนุกสนาน เฮฮากันเสียส่วนใหญ่ แต่ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อนนี่แหล่ะจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเอาตัวรอดได้เลย ยกตัวอย่าง ถ้าเราไม่เข้าเรียน แล้วเรามีเพื่อนที่ไว้ใจได้เรียนวิชาเดียวกับเรา เราก็ยังสามารถให้เพื่อนช่วยจด lecture หรือมาติวให้เราได้ จริงไหม ? เริ่มเห็นความสำคัญของเพื่อนหรือยัง

      แนวทางการปรับตัว


      ใน มหาวิทยาลัยนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ แค่มีสองสามคนแต่ไว้ใจได้ สามารถช่วยเหลือกันได้ก็เพียงพอแล้ว น้องๆ บางคนคงจะสงสัยว่า แล้วเพื่อนในมหาลัยนั้นหายากไหม ? คำตอบคือ ไม่ยากพียงแค่เราทำกิจกรรมบ่อยๆ เราก็จะได้เพื่อนเอง

นี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งขอการแนะนำการปรับตัวจาก ม.ปลาย สู่การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อให้เด็กๆ ทั้งหลายได้นำไปปรับใช้กับตนเอง เพื่อจะทำให้ชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัยมีความสุขยิ่งขึ้น และไม่เครียดกับสังคมใหม่มากเกินไป...


              ที่มาข้อมูล : http://www.dek-dee.com/
                            http://www.learning.eduzones.com/

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

กฎหมายเอกชน


 กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิทางแพ่งอันเป็นสิทธิทางกฎหมายที่เอกชนคนใดคนหนึ่งจะใช้ยันกับเอกชนคนอื่นได้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ระหว่างสามีกับภรรยา บิดามารดากับบุตร หรือกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนด้วยกันเอง เช่น การแลกเปลี่ยนผลผลิตและบริการระหว่างเอกชน เช่น การทำสัญญาในรูปแบบต่าง ๆ

   กฎหมายเอกชนมีความแตกต่างกับกฎหมายมหาชนคือ กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานรัฐกับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองก็จำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายมากำหนดความประพฤติของราษฎรในรัฐให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความปกติสุข กฎหมายมหาชนแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นต้น

   ประเภทของกฎหมายเอกชน
กฎหมายเอกชนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล ทรัพย์ นิติกรรม สัญญา หนี้ ครอบครัว มรดก เป็นต้น

2. กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาทางการค้าหรือการประกอบธุรกิจ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขาย เช่าทรัพย์ ตั๋วเงิน หุ้นส่วน บริษัท ฯลฯ เป็นต้น

     ในบางประเทศได้มีการแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่ง เช่น ในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส เพราะต้องการให้มีความคล่องตัวในการดำเนินการในทางพาณิชย์ และเพื่อที่จะได้มีบทบังคับ และหลักเกณฑ์แยกต่างหากไปจากกฎหมายของเอกชนทั่ว ๆ ไป แต่สำหรับประเทศไทยเราได้มีการรวมเอากฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ไว้ด้วยกัน เรียกว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

     ข้อสังเกต สำหรับกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น มีนักกฎหมายได้ให้ความเห็นไว้ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายแรกได้ให้ความเห็นว่าควรจะจัดเป็นกฎหมายเอกชน โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นเป็นเรื่องที่เอกชนใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งหรือกฎหมายพาณิชย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเอง

   ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น เป็นเรื่องที่คู่ความมายื่นคำฟ้องหรือคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย คือ อาจจะมีการโต้แย้งสิทธิกัน ซึ่งจะบังคับกันเองไม่ได้ ก็มาให้ศาลเป็นคนบังคับ หรืออาจจะเป็นกรณีให้ศาลมีคำสั่งในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท จึงเป็นเรื่องที่ศาลซึ่งเป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเข้าไปมีส่วนสัมพันธ์กับราษฎรซึ่งเป็นคู่ความ ดังนั้นจึงควรจัดเป็นกฎหมายมหาชน



กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา

1.1 ต้องมีเจ้าหนี้และลูกหนี้
                                หมายความว่า เมื่อเกิดหนี้ขึ้นแล้ว จะต้องมีคู่กรณี ซึ่งคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง
เรียกว่า เจ้าหนี้ และอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ลูกหนี้
1.2 ต้องมีความผูกพันในสิทธิและหน้าที่
ระหว่างกันในเรื่องหนี้ คือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้มีการรับผิดจำกัด
ตัวบุคคลที่หนี้ผูกพันอยู่เท่านั้น ไม่ผูกพันไปถึงบุคคลภายนอก เช่น
(1) ในสัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่าทรัพย์ คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ตอบแทนซึ่งกันและกัน
                                (2) ในบางกรณีไม่มีการตอบแทน เช่น สัญญายืม สัญญาฝากทรัพย์ หรือสัญญาตัวแทนที่ไม่มีบำเหน็จ
                                (3) สัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะพิเศษยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เช่น สัญญาเช่าตึกแถว โดยผู้เช่าช่วยออกเงินค่าก่อสร้าง
1.3 ต้องมีวัตถุแห่งหนี้
                                แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ การกระทำ การงดเว้นการกระทำ และการ
ส่งมอบทรัพย์สิน
                                2. สัญญากับบ่อเกิดแห่งหนี้
(1) สัญญาหรือนิติกรรมหลายฝ่ายเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้
                                (2) นิติกรรมฝ่ายเดียว
                1 เสรีภาพในการทำสัญญา
(1) บุคคลที่แสดงเจตนานั้นจะต้องมีความสามารถ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีความ
สามารถในการทำนิติกรรม สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ (มาตรา 153)
                                (2) วัตถุประสงค์ของสัญญาที่คู่สัญญาแสดงเจตนาตกลงกัน ต้องไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา 150)
                                (3) สัญญาบางประเภทกฎหมายเห็นว่าสำคัญจึงบัญญัติบังคับให้ทำตามแบบ เช่น สัญญาเช่าซื้อ(มาตรา 572) สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์(มาตรา 456) ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้มิฉะนั้นสัญญานั้นย่อมเป็นโมฆะ (มาตรา 152)


2. สาระสำคัญของสัญญา
                                2.1 ต้องมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
2.2 ต้องมีการแสดงเจตนาเป็นคำเสนอคำสนองตกลงตรงกัน ยินยอมกัน
2.3 ต้องมีวัตถุประสงค์
                คำเสนอ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาตอบ ถ้าข้อความที่แสดงเจตนาออกมานั้นตรงกันกับคำเสนอ เรียกนิติกรรมฝ่ายหลังว่า คำสนอง เกิดเป็นสัญญาขึ้น
                1.1 ลักษณะของคำเสนอ
                                คำเสนอเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเกิดจากการแสดงเจตนาของผู้ทำคำเสนอต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้รับคำเสนอ
                                คำเสนอจะต้องมีข้อความแน่นอนชัดเจนพอที่จะให้ถือเป็นข้อผูกพันก่อให้เกิดเป็นสัญญา
                                คำทาบทาม ที่มีขึ้นเพื่อให้มีการเจรจาที่จะทำสัญญากันต่อไป และแตกต่างกับคำเชื้อเชิญ คำเชื้อเชิญจะมีลักษณะเป็นคำขอที่ให้อีกฝ่ายหนึ่งทำคำเสนอเข้ามา
                                การแสดงเจตนาทำคำเสนอจะทำด้วยวาจาก็ได้ เป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยกริยาอาการอย่างใด ๆ ก็ได้
                                1.2 การถอนคำเสนอ
                                (1) ในระยะเวลาที่บ่งไว้ให้ทำคำสนองผู้เสนอจะถอนคำเสนอของตนไม่ได้ (มาตรา 354)
(2) ผู้เสนอจะถอนคำเสนอซึ่งกระทำต่อผู้อยู่ห่างโดยระยะทางก่อนเวลาที่ควรมีคำสนองไม่ได้ (มาตรา 355)
(3) คำเสนอต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าจะมีคำสนองได้ก็แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น (มาตรา 356)
1.3 คำเสนอสิ้นความผูกพัน
(1) ผู้รับคำเสนอบอกปัดไปยังผู้เสนอ (มาตรา 357)
(2) ผู้รับคำเสนอไม่สนองรับภายในกำหนดเวลาที่บ่งไว้ในคำเสนอ ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าผู้เสนอจะได้รับคำบอกกล่าว
(3) กรณีที่ผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ(มาตรา 360)
มาตรา 360 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของหลัก
หรือก่อนสนองรับผู้สนองได้ทราบว่าผู้เสนอตายแล้วหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ
2. คำสนอง
คำสนอง คือ คำตอบของผู้รับคำเสนอต่อผู้เสนอโดยแสดงเจตนาว่าผู้รับคำเสนอนั้นตกลง
(1) คำสนองที่ไม่ตรงกับคำเสนอ
3. คำมั่น
คำมั่นเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเช่นเดียวกับคำเสนอ มีผลเช่นเดียวกับคำเสนอ คือ ผูกพันผู้ให้คำมั่นว่าตนจะรักษาคำมั่นนั้นจนกว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับคำมั่นจะสิ้นสุดลง คำมั่น มี 2 ชนิด
คำมั่นจะให้รางวัลแก่ผู้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จตามที่กำหนด
วิธีถอนคำมั่นมีลักษณะพิเศษ คือ โฆษณาวิธีใดก็ต้องถอนด้วยวิธีเดียวกันนั้น ถ้าถอนโดยวิธีอื่นจะมีผลสมบูรณ์เฉพาะผู้ที่รู้เท่านั้น ผู้ที่ไม่รู้ว่าผู้ให้คำมั่นถอนคำมั่นยังคงมีสิทธิได้รับรางวัล
คำมั่นจะให้รางวัลในการประกวดชิงรางวัล (มาตรา 365)
คำมั่นชนิดนี้จะต้องมีกำหนดระยะเวลาให้ผู้ส่งเข้าประกวด
สัญญาเกิดขึ้นทันทีในเมื่อคำสนองมีข้อความตรงกับคำเสนอ
4. การตีความสัญญา
ท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
สัญญามีค่าตอบแทน หมายถึง สัญญาซึ่งคู่สัญญาต่างให้ประโยชน์เป็นค่าแลกเปลี่ยนตอบแทนซึ่งกันและกัน ซึ่งประโยชน์นี้จะเป็นทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย (มาตรา 453) สัญญาจ้างแรงงาน (มาตรา 575) สัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ (มาตรา 658) และสัญญากู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ย (มาตรา 653)
 สัญญาไม่มีค่าตอบแทน หมายถึง สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ให้ประโยชน์แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว โดยคู่สัญญาฝ่ายที่ให้ประโยชน์นั้นไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนเลยเช่น สัญญาให้โดยเสน่หา (มาตรา 521) สัญญายืมใช้คงรูป (มาตรา 640) สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง (มาตรา 650) และสัญญาฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จ (มาตรา 657)
 สัญญา 2 ประเภท
ก. สัญญามีค่าตอบแทน เช่น สัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ใช้ความระมัดระวังรักษาของผู้รับฝากไว้สูงกว่าผู้รับฝากโดยไม่มีบำเหน็จ (ดูมาตรา 659 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม)
ข. การเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ถ้าเป็นสัญญามีค่าตอบแทน ลูกหนี้กับบุคคลภายนอกผู้ได้ลาภงอกนั้นจะต้องได้รู้ข้อความจริงอันทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
                                ค. ในระหว่างผู้รับโอนโดยสุจริตด้วยกันผู้รับโอนที่มีค่าตอบแทนย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้รับโอนที่ไม่ได้เสียค่าตอบแทน(ดูมาตรา 1299
                                ง. สัญญามีค่าตอบแทน ปัญหาเรื่องการชำรุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิ หากเกิดมีขึ้นก่อนส่งมอบย่อมฟ้องร้องบังคับกันได้ (ดูมาตรา 472 มาตรา 475 มาตรา 479มาตรา 530มาตรา 549 มาตรา 578 และมาตรา 600) แต่สัญญาไม่มีค่าตอบแทน ผู้ที่ได้รับทรัพย์สินนั้นจะต้องรับไปตามสภาพที่เป็นอยู่จะทักท้วงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
                                จ. สัญญามีค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา กฎหมายบัญญัติบังคับไว้ให้คู่สัญญาเสียคนละครึ่ง (มาตรา 457 และมาตรา 539) แต่ถ้าเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน กฎหมายบัญญัติให้ผู้ได้รับประโยชน์ไปฝ่ายเดียวเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียม
                                มีค่าตอบแทนพิเคราะห์ถึง ประโยชน์ ที่คู่สัญญาจะให้ตอบแทนกัน แต่สัญญาต่างตอบแทนพิเคราะห์ถึง หนี้ ที่คู่สัญญามีหน้าที่ปฏิบัติต่อกัน
                                สัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญามีค่าตอบแทนโดยผู้กู้จะต้องให้ประโยชน์เป็นดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ แต่ไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน
                                สัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ แม้ผู้ฝากจะต้องให้ประโยชน์ค่าฝากเป็นบำเหน็จแก่ผู้รับฝากการส่งมอบทรัพย์สินที่ฝากเป็นองค์ประกอบของสัญญา มิได้ก่อให้เกิดสิทธิให้ผู้รับฝากเรียกร้องให้ผู้ฝากนำทรัพย์มาฝาก จึงไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน
                                ผลแห่งสัญญาต่างตอบแทนและสัญญาไม่ต่างตอบแทน แตกต่างกันดังนี้
ก. การเรียกร้องให้ชำระหนี้
ข. ผลแห่งความเสียหายหรือสูญหายที่เกิดแก่ทรัพย์
(3) สัญญาประธานและสัญญาอุปกรณ์
ของสัญญาอุปกรณ์ โดยปกติสัญญาประธานถ้าเสียไปด้วยเหตุใด สัญญาอุปกรณ์ย่อมเสียไปด้วย สัญญาประธานเป็นสัญญาที่สมบูรณ์อยู่ในตัวโดยลำพังของสัญญานั้น ส่วนสัญญาอุปกรณ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่เป็นประธานนั้น
สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญาประธาน ดอกเบี้ยที่กำหนดกันไว้ในสัญญาเป็นสัญญาอุปกรณ์
สัญญากู้ยืมเงิน กำหนดดอกเบี้ยไว้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี
สัญญากู้ยืมเงินขาดอายุความ ดอกเบี้ยอันเป็นสัญญาอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความ
ด้วย
การก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง (มาตรา 370)
มาตรา 370 ใช้บังคับเฉพาะสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และสัญญาซึ่งได้กระทำกัน ตกลงเด็ดขาดแล้ว ได้แก่ สัญญาซื้อขาย และสัญญาแลกเปลี่ยน
สัญญาเช่าทรัพย์ แม้จะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า และฝ่ายผู้เช่ามีหน้าที่ชำระค่าเช่า แต่สัญญาเช่าทรัพย์มิใช่สัญญาต่างตอบแทนที่ก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะ
สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ มิใช่สัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์ เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
สัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา 371 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญายังไม่โอนไปจนกว่าเงื่อนไขจะสำเร็จ
มาตรา 372 วรรคหนึ่ง อยู่ในบังคับของหลักทั่วไปของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือเมื่อการชำระหนี้ของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกเป็นพ้นวิสัย มิใช่เป็นความผิดของคู่สัญญาฝ่ายใด
ลูกหนี้หามีสิทธิได้รับชำระหนี้ตอบแทนไม่และลูกหนี้ก็หลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้นตาม
                                ของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ
                                มัดจำ เป็นสิ่งที่คู่สัญญาได้ส่งมอบให้ไว้แก่กันในขณะเมื่อเข้าทำสัญญา และการให้มัดจำกันไว้ย่อมถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งรับรองว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว
                                เบี้ยปรับ เป็นแต่เพียงข้อสัญญาของฝ่ายลูกหนี้ว่า ลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเสียหายให้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้นั้นผิดนัดไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามมูลหนี้ที่ตกลงกันไว้ในสัญญาถ้าลูกหนี้ได้วางเงินหรือทรัพย์สิน เจ้าหนี้มีสิทธิ
                                ความแตกต่างระหว่างมัดจำกับเบี้ยปรับ
                                (1) มัดจำ ให้กันไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาได้ทำกันขึ้นแล้วและเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญา (มาตรา 377)
                เบี้ยปรับ เป็นค่าสินไหมทดแทนที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญา ถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ลูกหนี้ยอมให้เจ้าหนี้ริบเบี้ยปรับ (มาตรา 379)
                                (2) มัดจำ จะต้องเป็นเงินหรือสิ่งของเท่านั้น (มาตรา 378)
                                เบี้ยปรับ เป็นเงิน (มาตรา 379) หรืออย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งของ
การกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำก็ได้ (มาตรา 382)
                                (3) มัดจำ จะต้องมีการส่งมอบกันไว้(มาตรา 377)
                                เบี้ยปรับ จะส่งมอบหรือไม่ส่งมอบกันไว้ก็ได้
                                (1) มัดจำ มัดจำไม่ใช่สัญญาอุปกรณ์ เพราะสัญญาประธาน
                                (1) เจ้าหนี้มีสิทธิริบเบี้ยปรับในกรณีใด
                                ก. กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้
                                ข. กรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร
                                วัตถุแห่งหนี้มี 3 ประการ คือ การส่งมอบการกระทำ และการงดเว้น สำหรับการส่งมอบ และการกระทำนั้น จะมีการกำหนดวันเวลาที่แน่นอนการงดเว้นไม่มีกำหนดวันเวลาหรือถ้ามีกำหนดเวลาก็จะเป็นชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่ง เช่น ภายใน 1 ปี หรือ 5 ปี
                                (2) ริบเบี้ยปรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้
                                เบี้ยปรับเป็นสัญญาอุปกรณ์คู่สัญญาจะตกลงเรื่องเบี้ยปรับรวมอยู่ในสัญญาประธาน หรือแยกเป็นสัญญาเกี่ยวกับเบี้ยปรับอีกฉบับหนึ่งก็ได้ แต่สัญญาอุปกรณ์นี้ตามหลัก
จะต้องอาศัยความสมบูรณ์ของสัญญาประธาน ถ้าสัญญาประธานไม่สมบูรณ์ สัญญาอุปกรณ์
ย่อมไม่สมบูรณ์ไปด้วย (มาตรา 384)
                                การเลิกสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 386 มี 2 ประการ
                                1.1 สิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา
                                ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา
                                (1) สิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา หมายความถึงการที่คู่สัญญาได้ตกลงกันกำหนดสิทธิในการบอกเลิกสัญญาไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ก็ให้เจ้าหนี้มีสิทธิแสดงเจตนาเลิกสัญญาได้แต่ฝ่ายเดียว
                                (2) สิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา มิใช่เงื่อนไขบังคับหลังหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุด
                                1.2 สิทธิเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติของกฎหมาย
                                บอกเลิกสัญญามีบัญญัติอยู่ในที่ต่างกัน เฉพาะในหมวดเลิกสัญญานี้มี 3 มาตรา คือ มาตรา 387 มาตรา 388 และมาตรา 389 ซึ่งเป็นหลักทั่วไป
                                การไม่ชำระหนี้นี้ หมายความรวมถึง 1. การไม่ชำระหนี้โดยสิ้นเชิง 2. ชำระแต่บางส่วน 3. ไม่ชำระหนี้ถูกต้องสมควร แต่ไม่หมายความรวมถึงการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยทั้งหมดหรือบางส่วน
                                2) การเลิกสัญญาเพราะการชำระหนี้กลายเป็น พ้นวิสัย
                ถ้าการชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันจะโทษลูกหนี้ได้ เจ้าหนี้จะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ (มาตรา 389)
                                3. ผลของการเลิกสัญญา
                                3.1 การกลับคืนสู่ฐานะเดิม
                                3.2 การคืนเงิน
                                ดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ (มาตรา 391 วรรคสอง)
                                ถ้าลูกหนี้ไม่ยอมใช้จึงจะคิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปีได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้
ได้รับการทวงถามหนี้เงินจำนวนนั้น
                                3.3 การคืนการงานและการคืนทรัพย์
                                3.4 สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน
                                3.5 การชำระหนี้ของคู่สัญญาในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
                                สิทธิเลิกสัญญาระงับเมื่อเจ้าหนี้ ไม่ยอมเลิกสัญญาภายในระยะเวลาที่ลูกหนี้กำหนด
                                สิทธิเลิกสัญญาระงับเพราะผู้มีสิทธิเลิกสัญญาทำให้ไม่อาจกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา 394 วรรคหนึ่ง คือ
                                (1) ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นบุบสลายไปในส่วนสำคัญ เพราะการกระทำหรือเพราะความผิดของผู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
                                (2) การคืนทรัพย์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะการกระทำของผู้มีสิทธิเลิกสัญญา
                                (3) ผู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เปลี่ยนแปลงทรัพย์นั้น ให้ผิดแผกไปเป็นอย่างอื่นด้วยการประกอบหรือดัดแปลง
                                ขายสินค้าอัตโนมัติ เช่น เครื่องขายเครื่องดื่มหรือบุหรี่ชนิดต่าง ๆ ที่บริษัทผู้ขายสินค้านั้นเอาไปวางไว้โดยบอกให้รู้ว่า เมื่อหยอดเหรียญเข้าไปจำนวนเท่านั้นบาทก็จะได้สินค้าชนิดใด ราคาเท่าใดออกมา ลักษณะอย่างนี้ก็เป็นลักษณะที่เป็นคำเสนอเพราะเหตุว่า มีลักษณะของการแสดงเจตนาที่ให้ผู้ซึ่งสนใจเข้าตกลงทำสัญญา
                                ก. ทำสัญญาซื้อรถยนต์จากบริษัท ข. ในกรณีนี้เราถือว่าสัญญาซื้อรถยนต์ระหว่าง ก. กับบริษัท ข. นั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน แต่ในขณะเดียวกันหากพิจารณาสัญญากู้ยืมหรือสัญญาฝากทรัพย์ เช่น ก. กู้เงิน ข. 10,000 บาท ก็ดี หรือ ก. เอารถยนต์ของตนไปฝาก ข. ช่วยดูแลรักษาในระหว่างที่ตนต้องไปราชการต่างจังหวัดก็ดี เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน
                                สัญญาใดก็ตามถ้าหากว่าเป็นกรณีที่ต่างฝ่ายต่างมีหนี้ต่อกันและกัน หรือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ในขณะเดียวกันแล้วก็เป็นเรื่องของสัญญาที่กฎหมายเรียกว่าเป็น สัญญาต่างตอบแทน
                                เกิดหนี้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้น สัญญายืมก็ดี สัญญาฝากทรัพย์ก็ดี ลักษณะที่กฎหมายเรียกว่าเป็น สัญญาไม่ต่างตอบแทน (unilateral contracts)
                                สัญญาฝากทรัพย์ที่มีบำเหน็จหรือคิดค่าฝาก กับสัญญาฝากทรัพย์ที่ไม่มีบำเหน็จหรือไม่คิดค่าฝาก ที่ไม่บำเหน็จนั้นก็คงจะไม่มีปัญหาเพราะเหตุว่าคงเป็น สัญญาไม่ต่างตอบแทน
                                ตัวอย่างของสัญญาที่มีค่าตอบแทน เช่น กรณีสัญญาชื้อขายรถยนต์จากสัญญาเดียวกันนี้ซึ่งได้เคยตกลงซื้อรถยนต์จากบริษัท ข. ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว นั้น ได้รับประโยชน์จากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง บริษัท ข. นั้น ก็จะได้รับประโยชน์จากการทำสัญญานี้เป็นการตอบแทนคือได้ชำระราคาแห่งค่าของรถยนต์ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์เป็นการแลกเปลี่ยนตอบแทน สัญญาให้ ก. ทำสัญญาให้นาฬิกาเรือนหนึ่งแก่ ข. เนื่องในโอกาสครบรอบไม่มีค่าตอบแทนเกิดหรืเหตุอื่นใดก็ได้ ในกรณีนี้ถ้าจะพิจารณาในลักษณะอ่างเดียวกับกรณีข้างต้น ว่าในการทำสัญญานี้ในระหว่างคู้สัญญานั้นมีความผูกพันกันในลักษณะใดก็จะเห็นว่าในสัญญานี้ ข. เป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งนั้น จะได้รับประโยชน์จากสัญญานี้ ประโยชน์ที่ว่านั้นก็คือการได้กรรมสิทธิ์ในนาฬิกาที่ ก. ยกให้แก่ตนในขณะเดียวกัน
                                ในสัญญาที่ทำกันขึ้นนั้นเป็นสัญญาซึ่งมีหนี้ซึ่งต่างฝ่ายต่างจะต้องกระทำเป็นการตอบแทนซึ่งกันและกัน หรือว่าเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียวมีหน้าที่จะต้องกระทำต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในลักษณะเป็นหนี้ตอบแทนแล้ว ข้อที่จะต้องพิจารณานั้น อยู่ตรงที่ว่าในสัญญานั้นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างฝ่ายต่างจะได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินจากคู่สัญญาแต่ละฝ่ายเป็นการตอบแทนซึ่งกันหรือไม่หรือเป็นสัญญาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สิน คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์อะไรเป็นการตอบแทนเลย หนี้ที่ต้องกระทำในการตอบแทน หรือว่าเป็นสัญญาที่คู่สัญญาจะได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์
                                สัญญาประธาน ย่อมหมายถึง สัญญาโดยทั่วไป ที่คู่สัญญาได้ตกลงทำขึ้น และมีผลบังคับให้เกิดหน้าที่จะต้องมีการปฏิบัติตามความตกลงของบุคคลทั้งสองฝ่าย เรียกว่ามีความสมบูรณ์ในตัวของสัญญานั้น เช่น สัญญาซื้อขายเมื่อไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่จะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการขำระราคา ก็เป็นเรื่องซึ่งคู่สัญญาจะต้องดำเนินคดีฟ้องร้องเพื่อให้มีการบังคับการให้เป็นไปตามสัญญาหรือในกรณีของสัญญากู้ยืมซึ่งก็มีความสมบูรณ์ในตัวของสัญญานั้นเอง
                                สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งสามารถที่จะมีการบังคับการให้เป็นไปตามความตกลงสัญญาที่ทำกัน
                                สัญญาอุปกรณ์ เป็นสัญญาหรือความตกลงในระหว่างคู่สัญญาที่ได้ทำลักษณะที่มีส่วนประกอบหรือเป็นส่วนหนี่งของสัญญาประธาน เช่น ไปว่าจ้างให้ร้านสวยเสมอในการตกลงว่าจ้างกันผู้รับจ้างอาจกำหนดให้ผู้ว่าจ้างวางเงินจำนวนหนึ่งเป็นมัดจำหรือเป็นประกันที่จะมีการปฏิบัติตามสัญญานั้น
                                สัญญาต่างตอบแทน คือสัญญาซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะต้องกระทำตอบแทนซึ่งกันและกัน ส่วนสัญญาไม่ต่างตอบแทนนั้น ย่อมก่อให้เกิดหนี้จากคู่สัญญาแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว
                                สัญญามีค่าต่างตอบแทน คือสัญญาซึ่งมีคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ต่างได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินเป็นการแลกเปลี่ยนตอบแทนกัน ส่วนสัญญาไม่มีค่าตอบแทนนั้น คู่สัญญาแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินเป็นการตอบแทน
                                สัญญาอุปกรณ์ เป็นสัญญาซึ่งเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนหนึ่งของสัญญาประธาน สัญญาประธาน คือ สัญญาซึ่งมีความสมบูรณ์ในตัวของสัญญานั้นเอง
                                มาตรา 370 มาตรา 371 และมาตรา 372 ซึ่งวางหลักไว้ว่า ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่...
                                ตัวอย่าง ก. ว่าจ้างให้บริษัท ข. ส่งน้ำตาลไปยังบริษัทหนึ่งในต่างประเทศ แต่ก่อนที่ถึงกำหนดที่ บริษัท ข. จะปฏิบัติลำระหนี้คือ ส่งน้ำตาลไปต่างประเทศรัฐบาลออกกฎหมายห้ามมิให้มีการนำน้ำตาลออกนอกประเทศ เพื่อป้องกันความขาดแคลนน้ำตาลที่ราษฎรต้องบริโภคภายในประเทศ เช่นนี้ การปฏิบัติชำระหนี้ของบริษัท ข. ในอันที่จะบรรทุกน้ำตาลส่งไปยังบริษัทต่างประเทศจึงเป็นอันกระทำมิได้ ซึ่งเรียกว่าการชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัย
                                ก. จ้างให้ ข. มาทาสีบ้านจะจ่ายค่าจ้างจำนวนหนึ่งอาจจะเป็นจำนวน 5,000 บาท ขณะที่ทาสีไปได้บางส่วน ต่อมาบ้านของผู้ว่าจ้างคือ ก. นั้นเกิดเพลิงไหม้ซึ่งอาจจะเกิดจากฟ้าผ่า ความผิดของเจ้าของบ้านคือ ก. ความผิดของ ข. ซึ่งเป็นผู้รับจ้างทาสี ในกรณีเช่นนี้การชำระหนี้ของ ขง คือการทาสีบ้าน ก. ถือว่าตกเป็นพ้นวิสัย ข. ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างจาก ก.ตามสัญญาเช่นเดียวกัน
                                มาตรา 370 นั้นเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทน ทรัพย์สิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่งได้โอนจากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ส่วนกรณีตามมาตรา 371 เป็นกรณีที่ทรัพย์สิทธิยังไม่โอนไปนั้นเอง
                                ตามมาตรา 370 อันเป็นเรื่องของสัญญาตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้น ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้ไม่ได้การสูญหรือเสียหายนั้นย่อมตกพับแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ต้องตกเป็นฝ่ายรับบาปเคราะห์ในการสูญหรือเสียหายนั้น
1. การที่มีการวางมัดจำนั้นก็เท่ากับเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้น
2. ที่มีข้อตกลงวางมัดจำกันขึ้นนั้นย่อมเป็นประกันว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย
มัดจำได้นั้นจะต้องเป็นสิ่งของคือเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมอบไว้ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
                                เช่น ไปว่าจ้างตัดชุดสากลจำนวน 800 บาท วางมัดจำไว้ 200 บาท เงิน 200 บาทที่วางมัดจำไว้เป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ อีกเพียง 600 บาท
                                มัดจำ คือการที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมอบเงินหรือสิ่งของอื่นให้ไว้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ในขณะทำสัญญาเพื่อเป็นประกันว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้เพราะถ้าฝ่ายที่วางมัดจำไม่ปฏิบัติชำระหนี้ หรือการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยหรือมีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายวางมัดจำ กฎหมายให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับมัดจำไว้สามารถรับมัดจำนั้นได้ แต่ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย หรือมีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายรับมัดจำ กฎหมายกำหนดให้คืนมัดจำแก่ผู้วางมัดจำ
                                เนื่องจากนั้น การวางมัดจำยังได้ว่าเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาได้ทำกันขึ้นแล้วอีกด้วย
การปฏิบัติตามสัญญานั้นมีอยู่ 2 ประการ
1. มัดจำ
2. เบี้ยปรับ
ทำสัญญาห้ามไม่ให้ลูกศิษย์ที่เรียนสอนตัดเสื้อมาตั้งร้านค้าแข่งขันกับครูที่สอนในบริเวณหมู่บ้านที่ตกลงกัน ซึ่งถ้าไม่ใช่เป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมีกรณีกำหนดเบี้ยปรับ
การเรียกเบี้ยปรับนั้นมีได้ 2 ประการ
1. การเรียกเบี้ยปรับเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้นั้นเลย
2. เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้
เช่น สัญญาซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้ขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนการขายตามกำหนด ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และยอมให้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้ออีก 30,000 บาท ดังนี้ ค่าเสียหายที่กำหนดไว้นั้นเป็นเบี้ยปรับ เมื่อผู้ขายไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นได้โดยไม่ต้องนำสืบค่าเสียหาย
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เช่น ชำระหนี้ล่าช้าหรือไม่ครบตามความประสงค์อันแก้จริง ในกรณีเช่นนั้นกฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิทั้งในอันที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนและยังมีสิทธิที่จะริบเบี้ยปรับได้อีกด้วย
ข้อนี้เป็นเรื่องซึ่งแตกต่างกันในระหว่างการกำหนดเบี้ยปรับ
ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในระหว่างการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดไว้เป็นเงิน กับการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดไว้เป็นสิ่งของอย่างอื่นตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องของการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นสิ่งของอย่างอื่นแล้ว ถ้าเจ้าหนี้ได้เรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้อีก ซึ่งไม่เหมือนกับกรณีของการกำหนดเบี้ยปรับที่เป็นเงินซึ่งในกรณี นอกจากเจ้าหนี้จะมีสิทธิรับเบี้ยปรับแล้วยังมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้อีก ถ้าหากปรากฏว่าตน