วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการจำ ต้องเริ่มตั้งแต่การรับข้อมูล : สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

  “บางสิ่งที่อยากจำเรากลับลืม บางสิ่งที่อยากลืมเรากลับจำ คนเรานี้คิดให้ดีก็น่าขัน อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ”
     
       เป็นท่อนฮุกของบทเพลงของ เดอะฮอท เปปเปอร์ ซิงเกอร์ นักร้องสาวดูโอที่เคยโด่งดังมากในอดีต เชื่อว่าหลายๆ ท่านก็เคยโดนใจและเห็นด้วยกับประโยคที่ว่านั่นกันมาบ้างแล้ว

 

       ตอนฟังบทเพลงๆ นั้นยังจำได้ว่าเห็นด้วยและชื่นชอบจัง
       และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ “จำ” บทเพลงนั้นได้จนถึงทุกวันนี้
     
       เพียงแต่วันนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมคนเราอยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ...!!
       เพราะมันเกี่ยวข้องกับสมองโดยตรงของเรานั่นเอง
       สมองคนเรามีความจำแบบไหน ?
       แบบที่มีการจำอัตโนมัติ มีทั้งการจำผ่านการท่องซ้ำๆ และมีการจำแบบมีเรื่องราว เหตุการณ์ รวมถึงจำแบบมีการเชื่อมโยง
     
       ส่วนเรื่องที่คนเรามักจะจดจำมีเรื่องอะไร แบ่งคร่าวๆ ในเรื่องหลักๆ ได้ดังนี้
       
- จำภาษา คำพูด
       - จำบุคคล สถานที่ ตัวเลข
       - จำเหตุการณ์เรื่องราว

     
       แต่...ก่อนที่คนเราจะเกิดความจำขึ้นมาได้ ต้องมีการรับข้อมูลต่างๆ ก่อน
     
       เริ่ม จากเมื่อมีข้อมูลผ่านเข้ามาในสมอง ข้อมูลจะถูกส่งไปที่สมองส่วนกลาง (ธาลามัส) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโอเปอร์เรเตอร์ในสมอง และจะคอยส่งข้อมูลไปยังสมองส่วนต่างๆ เช่น ถ้ามองเห็นภาพ ก็จะส่งไปยังสมองส่วนรับภาพ และถ้าเป็นการฟัง ก็จะส่งต่อไปยังส่วนการรับฟัง ฯลฯ
     
       และเมื่อกระบวนการ ส่งข้อมูลถูกต้องครบถ้วน สมองที่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับความจำคือ ฮิปโปแคมปัส และอะมิกดาลา จะรับช่วงต่อว่าจะจัดการข้อมูลนั้นๆ อย่างไร
     
       ถ้า ข้อมูลที่เป็นเรื่องราวปกติ ฮิปโปแคมปัสจะเก็บไว้จนกว่าจะถูกลำเลียงเข้าไปอยู่ในความทรงจำระยะยาวบริเวณ สมองส่วนหน้า และจัดเข้าไปอย่างเป็นระเบียบเพื่อจะนำไปใช้ในอนาคต
     
       แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เป็นหน้าที่ของอะมิกดาลา
     
      ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) อยู่ลึกเข้าไปในสมองส่วนขมับ ทำหน้าที่จัดกระบวนความรู้ที่ปรากฏจริงรอบๆ ตัวเรา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดเก็บข้อมูลจากความทรงจำระยะสั้น เข้าไปเก็บไว้ระบบ ความทรงจำระยะยาว ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ตลอดชีวิต
     
       การ จัดเก็บความทรงจำในเด็กอายุก่อน 10 ปี จะเกิดขึ้นในขณะเด็กหลับ จึงเป็นเหตุผลว่าเด็กควรได้นอนเต็มที่อย่างน้อย 9-10 ชั่วโมงต่อวัน
     
      อะมิกดาลา (Amygdala) อยู่บริเวณสมองส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ โดยเฉพาะความรู้สึกพื้นฐาน เช่น ความกลัว ความก้าวร้าว ทำหน้าที่จัดระบบด้วยความรู้สึก
     
       ในช่วงวัยรุ่นจะใช้สมองส่วนนี้มาก จึงไม่แปลกถ้าวัยรุ่นจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
     
       และ นั่นหมายรวมไปถึงว่า เหตุใดเวลามีเรื่องราวประทับใจ หรือมีเรื่องเศร้ากระทบกระเทือนจิตใจ เราจึงสามารถจดจำได้ดี ก็เพราะสมองส่วนนี้ทำงานนั่นเอง
     
       ฉะนั้น การที่จะทำให้เด็กมีความจำที่ดี พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่ามีส่วนสัมพันธ์กับสมอง เด็กจะมีความจำดีได้ ต้องเริ่มจากการรับข้อมูล และมีกระบวนการเรียนรู้เบื้องต้นที่ดีก่อน
     
       ****และ...การรับข้อมูลที่ดีที่สุด คือ รับผ่านประสาทสัมผัส****
     
       การเรียนรู้จะเกิดได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อให้เซลล์ประสาทในสมองรับความรู้สึกต่างๆ ทั้งการมองเห็นภาพ ได้ยินเสียง รับรู้กลิ่น ได้รับความรู้สึกทางผิวหนัง ความรู้สึกที่ได้รับจะถูกส่งไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมอง
     
       เมื่อสมองทำการกรองจัดลำดับความสำคัญแล้วก็จะถูกบันทึกไปยังส่วนความจำ
     
       ฉะนั้น การให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสอย่างสม่ำเสมอ ด้วยอารมณ์และความรู้สึกในขณะที่เรียนรู้เป็นด้านบวก ก็จะยิ่งทำให้ความทรงจำที่ดีเข้าไปประทับอยู่ในสมองเด็กมากขึ้น
     
       ยิ่ง ถ้าวัยขวบปีแรก เด็กได้รับการรับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสในด้านบวกอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เด็กทีแนวโน้มมีความจำที่ดีเมื่อโตขึ้น
     
       การ มีความจำที่ดี นอกจากผู้ใหญ่ต้องส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์ต่างๆ แล้ว ยังต้องขึ้นกับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ด้วย เด็กควรได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอเหมาะกับวัย และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ รวมถึงสภาวะจิตใจที่พร้อมด้วย
     
       แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของคน เป็นพ่อแม่ที่มีลูกเล็กมักจะมีคำถามเรื่องความจำที่เอนไปเกี่ยวข้องกับ เรื่องการเรียนเป็นส่วนใหญ่ เช่น ลูกเรียนหนังสือแล้วมักจำไม่ค่อยได้ ต้องท่องจำซ้ำๆ บ่อยๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงต้องฝึกเรื่องการจำโดยการรับข้อมูลตั้งแต่วัยทารก ไม่ใช่ฝึกเมื่อตอนเข้าโรงเรียน

จาก ม.ปลาย สู่ มหาวิทยาลัย - เรียนอย่างไรให้ได้ A

     

               สำหรับ เด็กที่กำลังเตรียมตัวสอบกันอยู่ โดยเฉพาะการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างก็ต้องเครียดกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อสอบเข้าได้แล้วใครจะคิดว่า มีเรื่องที่ต้องเครียดมากกว่าเดิมหลายเท่านัก นั่นก็คือการปรับตัวให้เข้ากับระบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ต้องตื่นเช้าไปโรงเรียน มีการทำกิจกรรมหน้าเสาธง ฯลฯ สิ่งเหล่านั้นจะหายไปเมื่อเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัย ดังนั้นเด็กๆ ทุกคนคงต้องมีการปรับตัวกันขนานใหญ่ ทั้งเรื่องการเรียน ความรับผิดต่อตนเอง รวมถึงการที่จะทำอย่างไรให้เรียนได้ผลการเรียนดี วันนี้เรามีเคล็ดลับมาบอก...

   1. สำหรับพวกวิชาเคมี คณิตศาสตร์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ อะไรทำนองนี้ จะเจอมากเลยสำหรับน้องๆ ที่เรียนในคณะสายวิทย์ แต่สำหรับคณะสายศิลป์ก็เจอบ้าง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งดูเหมือนว่า จะไม่ยาก เพราะเราเคยเรียนมาหมดแล้วใน ม.ปลาย แต่มันยากตรงที่เนื้อหาแต่ละเรื่องเรียนเร็วมากๆ เร็วกว่าใน ม.ปลาย ประมาณ 3-4 เท่า อย่างเช่น วิชาชีววิทยานั้นต้องเรียนเนื้อหาที่เคยเรียนตั้งแต่ ม.4- ม.6 ให้จบภายในเทอมเดียว (จาก 3 ปี เหลือ 1 เทอม)

     แนวทางการปรับตัว

   2.   ตั้งใจ เรียนให้มากขึ้น หมั่นทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ ถ้าเป็นไปได้ไปเอาสมุดโน้ต หนังสือเรียนเก่าๆ สมัย ม.ปลาย มาทบทวนดู เพราะว่าเนื้อหาในมหาวิทยาลัยที่อาจารย์สอนนั้นมันจะรวบรัดมากๆ ไม่ละเอียดเท่าของ ม.ปลาย (เฉพาะน้องๆ ปี 1) ดังนั้นถ้าเราอ่านของ ม.ปลาย จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น

   3. ข้อแตกต่างต่อมาเป็นเรื่องของความ อิสระ ที่เราจะได้รับอย่างมากในรั้วมหาวิทยาลัย ดังนั้นถ้าเราควบคุมตนเองไม่ได้ ความอิสระที่เราได้รับนั้นจะกลับกลายเป็นดาบมาทำร้ายตัวเราเอง

      แนวทางการปรับตัว

      เรา ต้องควบคุมตนเองให้อยู่อย่าออกนอกลู่นอกทาง แล้วที่สำคัญต้องแบ่งเวลาให้เป็นด้วย ต้องรู้ว่าเวลาไหนควรเที่ยว เวลาไหนควรตั้งใจเรียน ไม่ใช่ว่า เก้าโมง คือเวลาเรียนแต่แอบโดดไปเที่ยว จริงอยู่ว่า ในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะไม่มีการเช็คชื่อหรือเช็คเวลาเข้าเรียน แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ ก็จะทำให้เราเรียนไม่ทันเพื่อนๆ

   4. รู้หรือไม่ ? การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ส่วนใหญ่คะแนนที่ได้ เกรดที่ออกล้วนมาจากการสอบทั้งนั้น ไม่มีคะแนนพิศวาส หรือคะแนนเก็บ คะแนนทำงานเหมือนใน ม.ปลาย

      แนวทางการปรับตัว

      วิธี การปรับตัวนั้น เราต้องตั้งใจเรียนและเอาใจใส่ต่อวิชานั้นๆ อย่างมาก ที่สำคัญไม่ควรโดดเด็ดขาด เพราะแม้ว่าคะแนนช่วย คะแนนจากการเข้าห้องเรียน จะไม่สำคัญแล้ว แต่การที่เราโดดเรียน จะทำให้เราไม่เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน ซึ่งจะทำให้เรามาเหนื่อยช่วงใกล้สอบนั่นเอง

      การมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ สำหรับการเรียน
      ในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
   5. การช่วยเหลือตัวเอง คือเรื่องใหญ่มากในรั้วมหาวิทยาลัย การช่วยเหลือตัวเองในที่นี้ หมายถึง ถ้าเรามีปัญหาการเรียน หรือต้องการติดต่ออาจารย์นั้น เราต้องติดต่อเอง ไม่มีอาจารย์มาคอยจ้ำจี้จ้ำไชเราเหมือนตอน อยู่ ม.ปลายแล้ว

      แนวทางการปรับตัว

      ใน รั้วมหาวิทยาลัยนั้น เราจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษาเราเวลาเรามีปัญหาอะไร ก็ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาของเราได้ และนอกจากนี้วิชาที่เราเรียนบางวิชาก็จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำวิชา และผู้ช่วยสอนคอยให้คำปรึกษาเราอยู่ด้วย ดังนั้น ไม่ควรอายที่จะเข้าหาอาจารย์ เพราะถ้าเราไม่กล้าที่จะเข้าหาอาจารย์ จะทำให้เราเรียนอย่างลำบากมากๆ

   6. เพื่อน คือ สิ่งสำคัญ ในรั้วมหาหาวิทยาลัย ใน ม.ปลาย เราอาจยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของเพื่อนในด้านการเรียนมากนัก เพราะเรามักจะนึกถึงเพื่อนในเรื่องของความสนุกสนาน เฮฮากันเสียส่วนใหญ่ แต่ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อนนี่แหล่ะจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเอาตัวรอดได้เลย ยกตัวอย่าง ถ้าเราไม่เข้าเรียน แล้วเรามีเพื่อนที่ไว้ใจได้เรียนวิชาเดียวกับเรา เราก็ยังสามารถให้เพื่อนช่วยจด lecture หรือมาติวให้เราได้ จริงไหม ? เริ่มเห็นความสำคัญของเพื่อนหรือยัง

      แนวทางการปรับตัว


      ใน มหาวิทยาลัยนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ แค่มีสองสามคนแต่ไว้ใจได้ สามารถช่วยเหลือกันได้ก็เพียงพอแล้ว น้องๆ บางคนคงจะสงสัยว่า แล้วเพื่อนในมหาลัยนั้นหายากไหม ? คำตอบคือ ไม่ยากพียงแค่เราทำกิจกรรมบ่อยๆ เราก็จะได้เพื่อนเอง

นี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งขอการแนะนำการปรับตัวจาก ม.ปลาย สู่การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อให้เด็กๆ ทั้งหลายได้นำไปปรับใช้กับตนเอง เพื่อจะทำให้ชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัยมีความสุขยิ่งขึ้น และไม่เครียดกับสังคมใหม่มากเกินไป...


              ที่มาข้อมูล : http://www.dek-dee.com/
                            http://www.learning.eduzones.com/