วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

^^แนวข้อสอบความรู้ทั่วไป^^

1. ประเทศไทยมีการปฏิรูปการปกครอง เมื่อวันที่  19  กันยายน  2549

2. การปฏิรูปการปกครอง ยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ คือ  พลเอกสนธิ  บุญยรัตกลิน

4. การปฏิรูปการปกครองได้ยุบศาลรัฐธรรมนูญ

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เป็นฉบับที่ 17  มีทั้งหมด  39 มาตรา ให้ไว้ ณ วันที่      
      1 ตุลาคม 2549 เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน

6. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกิน 250 คน  อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี  แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ฯ  

     โดยทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร   วุฒิสภา และรัฐสภา

7. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิ์เข้าชื่อเสนอประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้

    สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียพ้นจากสมาชิกภาพ โดยมติที่ประชุม 2 ใน 3

8. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน เข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายซักถามคณะรัฐมนตรีได้

    แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจไม่ได้

9. ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) คณะองคมนตรี  ประกอบด้วยประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน

       ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี  ประธานองคมนตรี

       เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี    การพ้นจากตำแหน่งเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

10. คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีก จำนวนไม่เกิน 35 คน

11. การแต่งตั้งและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ประธาน คมช.เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

12. สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ  ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ภายใน

      เวลา  2 ปี ก่อนวันได้รับการคัดเลือก และต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติในขณะเดียวกัน

13. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ  แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

14. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ มีสิทธิเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้คนละไม่เกิน 3 รายชื่อ และให้ผู้ได้คะแนนเสียงสุงสุด  

      เรียงลำดับจนครบ 200 คน และเสนอ คมช.คัดเลือกให้เหลือ 100 คน นำทูลเกล้าแต่งตั้ง

15.  ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ได้แก่  นายนรนิติ  เศรษฐบุตร 

          รองประธาน   สสร.  คนที่  1  ได้แก่  นายเสรี    สุวรรณภานนท์

          รองประธาน   สสร.  คนที่  2  ได้แก่  นายเดโช  สวนานนท์

16. ในการร่างรัฐธรรมนูญ  ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญคณะหนึ่ง จำนวน 25 คน จาก

      ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมติสภา  และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภา

      ร่างรัฐธรรมนูญตามมติสภา  และผู้ทรงคุณวุฒิตามลักษณะดังกล่าว ตามคำแนะนำของ คมช. อีก  10 คน  รวม  35  คน  

17. ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ นายประสงค์  สุ่มศิริ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น